nipt

การตรวจ NIFTY (นิฟตี้) Non-Invasive Fetal TrisomY Test

เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์ จากเลือดมารดา โดยสามารถหาความเสี่ยงการเกิดดาวน์ซินโดรม หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ

โรคที่สามารถตรวจคัดกรองได้จากการตรวจ NIPT

  1. กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome)เป็นกลุ่มอาการที่มีโครโมโซม Trisomy 21 ผิดปกติ
  2. กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่มีโครโมโซม Trisomy 18 ผิดปกติ
  3. กลุ่มอาการพาทู (Patau Syndrome)เป็นกลุ่มอาการที่มีโครโมโซม Trisomy 13 ผิดปกติ
  4. Sex chromosome aneuploidy ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมเพศและเพศของทารกในครรภ์
  5. Microdeletions ความผิดปกติที่เกิดจากการขาดหายไปบางส่วนของโครโมโซม ซึ่งสัมพันธ์กับโรคหัวใจแต่กำเนิด
  6. Genome-wide aneuploidy detection ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมคู่อื่นๆ อีก 19 คู่

มารดาที่ควรตรวจ NIPT

  1. มารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. มารดาตั้งครรภ์ที่ครอบครัวมีประวัติโครโมโซมผิดปกติ
  3. มารดาตั้งครรภ์ที่ทำอัลต้ราซาวด์ แล้วสงสัยว่าจะมีโครโมโซมผิดปกติ

สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถตรวจได้ทั้ง การตั้งครรภ์ธรรมชาติ และ มารดาที่ทำเด็กหลอดแก้ว จการตรวจสามารถทำได้ง่าย ด้วยการเจาะเลือดมารดาตั้งครรภ์ ประมาณ 10 ซีซี ทราบผลภายใน 1-2 สัปดาห์ ปลอดภัยไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร และมีความแม่นยำในการตรวจ

ผลตรวจ NIPT ได้ได้ผลตรวจออกมา 3 แบบ ได้แก่

1. Low risk (ความเสี่ยงต่ำ) หมายความว่ามารดาตั้งครรภ์มีความเสี่ยงน้อยมากที่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซม 21, 18 และ 13

2. High risk (ความเสี่ยงสูง) หมายความว่ามารดาตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซม 21, 18 และ 13 และควรรับการตรวจยืนยันด้วยวิธีตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การเจาะตรวจน้ำคร่ำ หรือ การตรวจชิ้นเนื้อรก

3. No result (ไม่ได้ผลลัพธ์) เป็นกรณีที่พบได้น้อยมากเนื่องจากดีเอ็นเอของทารกในครรภ์ไม่เพียงพอสำหรับการตรวจวิเคราะห์ อาจต้องทำการเจาะเลือดเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ : ศูนย์สูติ – นรีเวช โทร. 034-417-999 ต่อ 221, 222 สายด่วน 1715