วิกฤติฝุ่น PM2.5 สร้างความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพทางเดินหายใจให้กับคนไทย และในความกังวลว่าจะมีชีวิตรอดอย่างไรในวิกฤตินี้ จะหายใจอย่างไรเพราะทุกลมหายใจคือการนำฝุ่นผง เข้าสู่ร่างกาย สร้างความระคายเคือง ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พบกับวิธีการใช้ชีวิตให้ปลอดฝุ่น ปลอดโรค จาก ศ.เกียรติคุณ นพ.บุญเจือ ธรณินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ โรงพยาบาลเอกชัย

ฝุ่นมีมานานหรือยังคะคุณหมอ?

ฝุ่นมีอนุภาคประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนนึงคือ ฝุ่นที่ไม่มีชีวิต พวกแร่ธาตุต่างๆ อีกฝุ่นนึงคือพวกเชื้อโรคต่างๆ พวกแบททีเรียต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคขึ้น ฝุ่นมีมานานมากแล้ว และพบในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ฝุ่นมีขนาดเล็กจะมีอันตรายมากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่กว่า

ฝุ่นแต่ละประเภทต่างกันยังไงระหว่าง  pm 2.5 กับ pm 10 ?

ฝุ่นมีหลายขนาดถ้าฝุ่นมีขนาดใหญ่ขึ้นตั้งแต่ 10  ไมครอนขึ้นไปส่วนใหญ่แล้วจะถูกกรองโดยผ่านระบบป้องกันของจมูกและหลอดลมทำให้ไม่สามารถไปสู่บริเวณที่ลึกได้ 10 ไมครอน น่าจะมีปัญหาบ้างในกรณีที่เข้าไปสู่หลอดลมส่วนต้นทำให้เกิดอาการภูมิแพ้อาการอักเสบของหลอดลม แต่ฝุ่น 2.5 เข้าไปลึกได้โดยจนถึงถุงลมซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่า

การที่ฝุ่น 2.5 เข้าไปลึกถึงถุงลม จะมีผลต่อ 2 ระบบสำคัญของร่างกาย ระบบที่ 1 คือระบบทางเดินหายใจ ระบบที่ 2 คือระบบไหลเวียนโลหิต ถ้าเข้าไปในถุงลมแล้วจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ถึงเส้นเลือดฝอยได้เลย ทำให้เกิดปฏิกิริยาถึงการอุดตันของเลือด เฉพาะฉะนั้นคนที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้ว ก็อาจจะมีอาการเส้นเลือดหัวใจถูกอุดตัน ทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดได้ มีอันตรายมาก จะเป็นที่สมองก็ได้ และทุกส่วน และที่สำคัญอันที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจก็คือว่า จะทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว อย่างที่เป็นโรค ภูมิแพ้ โรคหืดหอบ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะมีการกระตุ้นให้มีอาการเพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นถุงลมโป่งพองยิ่งมีอันตราย จะทำให้มีอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น คนไข้ถึงกับขึ้นลมหมอนนอนเสื่อได้

สำหรับผู้ที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง กับผู้ที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีถ้าสูดดมฝุ่นเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างไรบ้าง?

ส่วนใหญ่แล้วมุ่งไปที่กลุ่มคนสุขภาพไม่แข็งแรงหรือผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจ หรือทางเดินระบบไหลเวียนโลหิตอยู่แล้ว สำหรับกลุ่มคนที่เป็นปกติไม่มีอาการของโรคต่างๆเหล่านี้เลย ก็มีอันตรายเหมือนกัน  ผู้ที่จะมีกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้ที่มีอายุมาก หรือมีอายุน้อย เช่นกลุ่มผู้สูงอายุ หรือในเด็กทารก หรืออีกกลุ่มคือกลุ่มร่างกายไม่แข็งแรง พวกที่อ่อนแอ พวกที่ล้มหมอนนอนเสื่ออยู่ ก็ถือว่าอันตรายมากครับ

สำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์หรือไม่?

อันนี้เป็นปัญหาอยู่มากที่ทางการแพทย์ของเราได้พยายาม รณรงค์มาตลอดว่า ฝุ่ฝุ่น Pm 2.5 มีอันตรายต่อทารกในครรภ์มาก โดยจากสถิติพบว่าแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 เดือนแรกเป็นภาวะที่วิกฤตสำหรับเด็กในครรภ์ ถ้าเผื่อแม่ได้รับฝุ่น pm 2.5 เข้าไป จะสามารถผ่านเข้าไปในทารกได้เลย เพราะฉะนั้นเด็กจะมีโอกาสที่น้ำหนักตัวจะลด น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ หลายรายคลอดออกมาและสติปัญญาไม่ค่อยดี แพทย์จึงรณรงค์ว่าคุณแม่ทั้งหลาย ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรพยายามหลีกเลี่ยงฝุ่นให้มากที่สุด พยายามอยู่ในห้อง ออกไปข้างตอนเฉพาะเวลาที่มีอากาศแจ่มใส ไม่มีฝุ่นมาก หรือถ้าจำเป็นต้องออกข้างนอกเมื่อมีฝุ่นมาก หรือในอยู่ในพื้นที่ปิดที่มีฝุ่นทั่ว ๆ ไป จำนวนมาก ก็ควรจะต้องป้องกันให้เป็นพิเศษกว่าผู้อื่น

วิธีป้องกัน?

ฝุ่นนอกบ้าน ง่ายเลยถ้าเผื่อเรารู้ทราบจากประกาศว่ามีปริมาณฝุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง pm 2.5 มากๆ เราก็ไม่ควรออกไปข้างนอกหรือไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง ถ้ามีฝุ่นมากเราไม่ควรจะไปเสี่ยง ไม่ว่าร่างกายจะเป็นปกติ หรือผิดปกติก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องออกไปทั้งๆทียังมีฝุ่น เราต้องป้องกันตัวเราเอง โดยใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น

สำหรับเรื่องหน้ากาก เราต้องเข้าใจว่า มันมีรูละเอียดเท่าใด กรองฝุ่นขนาดเล็กเท่าไร เราก็ยิ่งหายใจลำบากเท่านั้น เพราะฉะนั้นความลำบากของการใช้หน้ากาก N95 คือว่าเราจะใช้ไม่ได้นาน และจะต้องถอดออก หรือบางทีเพื่อความสะดวกสามารถเปิดข้างๆบ้าง ให้อากาศมันเข้าอะไรต่างๆเหล่านี้ จะทำให้คุณภาพของการกรองฝุ่นลดลงไป อันนี้ก็ต้องระวัง และวิธีการใช้หรือใส่หน้ากากก็ต้องทำให้ถูกต้อง

วิธีการใส่หน้ากากที่ถูกต้อง?

นำข้างที่มีลวดอยู่ข้างบน ข้างที่เป็นฝ้าธรรมดาอยู่ข้างล่างเมื่อใส่เข้าไปแล้วเราก็จะใช้สายข้างล่างสวมให้ถึงท้ายทอย สายด้านบนสวมให้เหนือท้ายทอยขึ้นมา จะได้กระชับแล้วต้องบีบส่วนที่เป็นลวดด้านบนให้กระชับแล้วลองหายใจดูว่าไม่มีอากาศรั่วไปข้างๆ จึงจะใช้ได้

หน้ากาก n95 มีราคาสูงส่วนมากขาดตลาดด้วย คนที่มีงบประมาณจำกัดเราสามารถใช้อุปกรณ์อย่างอื่นมาทดแทนได้ไหมค่ะ

หน้ากากธรรมดาสำหรับเราใช้ทั่วไปสามารถใช้ได้เหมือนกัน ปกติถ้าไม่มีฝุ่นมากนักหรือรุนแรงนักแผ่นนึงก็มีความสามารถที่จะกรองฝุ่น pm2.5 ได้มากพอสมควรแล้ว ประมาณตั้ง 70% ขึ้นไป ถึง 80% ถ้าจะให้ดีหรือต้องการใช้ในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเราควรจะใช้ 2 ชั้นซ้อนกันจะป้องกันได้ประมาณ 90%

 

ทำไมเราต้องเอาด้านสีเขียวไว้ข้างนอก?

ปกติแล้วเวลาจะใช้หน้ากากธรรมดาปิดปาก ปิดจมูก ต้องพิจารณา ต้องใช้ด้านที่มีสีอยู่ข้างนอกด้านขาวอยู่ข้างใน เพราะอากาศที่กรองเข้ามา จะกรองด้วย 2 ชั้น จะมีชั้นที่หยาบกว่า และก็จะมีชั้นที่ละเอียดอยู่ด้านใน เพราะฉะนั้นจะต้องกรองผ่านชั้นที่หยาบและชั้นที่ละเอียดที่ทำอย่างนั้นเพราะจะได้กรองฝุ่นได้หลายๆขนาด ฝุ่นขนาดเล็กเข้าไปกรองข้างใน ฝุ่นขนาดใหญ่ก็ติดอยู่ข้างหน้าเลย ถ้าเอาละเอียดไว้ข้างหน้ามันก็ติดกันหมดไม่ได้ประโยชน์อะไร

ถ้าเป็นฝุ่นในบ้านมีวิธีรับมืออย่างไร?

ช่วงที่มีฝุ่นมากๆเราควรจะปิดทึบ ถ้ามีเครื่องฟอกอากาศควรใช้เครื่องฟอกอากาศตลอดถ้าไม่มีเครื่องฟอกอากาศเนี่ย เครื่องปรับอากาศก็จะมีความสามารถ กรองได้พอสมควร แต่มีคำแนะนำ ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศเองว่าใช้วิธีเพิ่มขึ้นนิดหน่อยสำหรับกรองอากาศได้ดีขึ้น อย่างที่เราใช้แผ่น HEPA (High Efficiency Particulate Arrestance) กรองอากาศเหมือนกับ n95 แต่ว่าเป็นแผ่นใหญ่ ตัดใช้ให้พอเหมาะกับส่วนที่เป็นที่กรองของเครื่องปรับอากาศ ฝุ่นต่างๆก็จะติดอยู่กับแผ่น HEPA อากาศที่ออกมาก็จะไม่มีฝุ่น Pm2.5 ฝุ่นในห้องก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

ขอแนะนำอีกอย่างหนึ่งที่แพทย์ทางเดินหายใจแนะนำก็คือ เรามีความสามารถที่จะทำให้อากาศที่วนเวียนอยู่ในห้องที่เราปิดอยู่ให้ฝุ่นลดลงไปเรื่อยๆ ถ้าบ้านไหนไม่มีเครื่องปรับอากาศ โดยใช้พัดลมธรรมดา โดยใช้ตาข่ายที่กันไว้ไม่ให้เด็กเอามือสอด แล้วก็ตัดกระดาษ HEPA ไว้พอดีกับหน้าพัดลมแล้วก็เอาไปปิดกั้นไว้ เวลาที่พัดลมเป่าออกไป พัดลมจะดูอากาศที่มีฝุ่นจากข้างหลัง แล้วก็เป่าออกไป ฝุ่น และ pm2.5 ที่เล็กๆ ก็จะจับอยู่ที่ HEPA แต่ต้องเข้าใจว่าลมที่ออกมาจะเบากว่า เบาลง เราไม่ต้องกระแสลมที่ต้องการพัดให้เราเย็น แต่เราต้องการวัตถุประสงค์ที่ต้องการกรองฝุ่นและอากาศที่ออกไปก็จะลดลงไปเรื่อยๆ