ปกติการคลอดโดยธรรมชาติ เมื่อลูกอยู่ในครรภ์ครบ 37-42 สัปดาห์ จะถึงกำหนดคลอด ปากมดลูกจะค่อยๆ เปิดกว้าง ศีรษะลูกจะเคลื่อนไปบริเวณช่องคลอด ร่างกายของแม่จะกระตุ้นให้เกิดลมเบ่ง พร้อมกับการบีบรัดตัวของมดลูก จะทำให้ศีรษะลูกโผล่มาบริเวณช่องคลอดได้ กระบวนการนี้เป็นการคลอดบุตรแบบธรรมชาติ แต่ถ้าหากมีการติดขัดในกระบวนการคลอด แพทย์จะช่วยคลอดโดยการใช้เครื่องมือช่วยดึง หรือ ใช้วิธีเปิดแผลบริเวณหน้าท้องและมดลูก ซึ่งเรียกว่า การผ่าคลอด
“ข้อดี/ข้อเสีย ของการคลอดปกติหรือการคลอดแบบธรรมชาติ (Normal Labour)”
ข้อดี
- แม่ฟื้นตัวหลังคลอดเร็ว เสียเลือดน้อย เจ็บแผลน้อย
- ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หลังคลอดน้อย
- ลูกได้รับจุลินทรีย์สุขภาพจากการที่ลูกผ่านออกมาทางช่องคลอด ช่วยเสริมเสร้างภูมิต้านทาน ทำให้ลูกมีภูมิต้านทานดี
- ลูกสามารถเริ่มดูดนมแม่ได้เร็ว
ข้อเสีย
- ไม่สามารถกำหนดเวลาคลอดที่แน่นอนได้
- เจ็บปวดขณะรอคลอดนาน
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด ซึ่งอาจทำให้ต้องผ่าคลอดแบบฉุกเฉินได้
ดูแลตัวเองหลังคลอดปกติอย่างไร
- การพักฟื้นที่โรงพยาบาลจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน หากไม่มีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดมาก มดลูกไม่แข็ง ความดันต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว เป็นต้น แพทย์จะให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน
- แม่สามารถลุกเดินเข้าห้องน้ำได้เลยแต่ควรเดินแยกขา ช้าๆ เพื่อป้องกันแผลบริเวณฝีเย็บปริ หลังคลอด 7 วันสามารถเดินได้แบบปกติ หลังจากนั้น 6 สัปดาห์สามารถออกกำลังกายเบาๆ เช่นการยืดเหยียด การฝึกโยคะ
- หลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาไหลอยู่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด 4-6 สัปดาห์ไปแล้ว
- การรับประทานอาหาร ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรทานอาหารที่มีกากใยสูง ช่วยลดอาการท้องผูก ไม่ควรทานอาหารรสจัด หรืออาหารหมักดอง เพื่อป้องกันอาการท้องเสีย ซึ่งอาจส่งผลต่อการให้นมลูกได้
- มาพบแพทย์ตามนัดหมาย
การผ่าคลอด (Cesarean Section)
หากแพทย์ประเมินแล้วว่าแม่ไม่สามารถคลอดเองโดยธรรมชาติได้ แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าคลอดแทน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของแม่และลูกน้อย
“ข้อดี/ข้อเสีย ของการผ่าคลอด”
ข้อดี
- สามารถกำหนด วันและเวลาล่วงหน้า ทำให้เตรียมตัวล่วงหน้าได้
- ไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าคลอด
- สามารถทำหมันได้เลย ไม่ต้องเปิดหน้าท้องอีกครั้ง
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อบ่งชี้ ทางการแพทย์
ข้อเสีย
- ใช้เวลาฟื้นตัวช้า เจ็บแผลนาน มีโอกาสเสียเลือดมากกว่า
- ให้นมลูกได้ช้ากว่า
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึก และการผ่าตัด
กรณีใดบ้างที่แม่ต้องผ่าคลอด
-
- ทารกไม่กลับหัว อาจใช้ก้นนำมา มักเรียกกันว่าเด็กอยู่ท่าก้น หรือนอนในท่าขวาง
- แม่ที่ตัวเล็ก และมีอุ้งเชิงกรานแคบ แพทย์ประเมินแล้วว่าทารกไม่สามารถผ่านอุ้งเชิงกรานได้
- แม่มีรกเกาะต่ำ เมื่อรกขยายใหญ่ขึ้นจะทำให้รกปิดปากมดลูก ทำให้คลอดตามธรรมชาติไม่ได้
- แม่มีเนื้องอกในมดลูก ทำให้เป็นอุปสรรคขัดขวางช่องทางคลอด
- แม่มีครรภ์แฝด การผ่าคลอด จะมีความปลอดภัยต่อแม่และทารกมากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ
- แม่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ มีความดันโลหิตสูง
- ทารกมีภาวะขาดออกซิเจน หรือ หัวใจเต้นผิดปกติ
การเตรียมตัวก่อนผ่าคลอด
- คืนก่อนผ่าคลอดแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดน้ำงดอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ในวันผ่าตัดให้อาบน้ำสระผมให้สะอาดอาจมีการโกนขนอวัยวะเพศโดยบุคลากรทางการแพทย์
ขั้นตอนการผ่าคลอด
- แม่จะถูกเจาะเส้นเลือด เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และสำหรับให้ยาต่างๆ
- แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึก แพทย์อาจใช้วิธีการดมยาสลบ ซึ่งแม่จะไม่รู้สึกตัวเลยขณะผ่าคลอด หรืออาจใช้วิธีการบล็อกหลัง โดยการฉีดยาเข้าไปทางช่องไขสันหลัง วิธีนี้แม่จะรู้สึกตัวตลอดเวลา แต่จะมีอาการชาเฉพาะบริเวณกลางลำตัวไปจนถึงขาทำให้แม่ไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าคลอด
- แนวแผลผ่าตัด แพทย์อาจใช้การผ่าตัดแบบแนวยาวตรงบริเวณใต้สะดือแม่(Vertical Midline Incision) หรือ ผ่าตัดในแนวขวางหรือเรียกว่าแนวบิกินี่(Transverse Incision) การผ่าตัดในแนวนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ความยาวของแผลประมาณ 10-15 ซม.
- หลังผ่าคลอดเสร็จแล้ว แม่จะนอนที่ห้องพักฟื้นประมาณ 2 ชั่วโมง แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่ห้อง
การดูแลตนเองหลังผ่าคลอด
- หลังผ่าคลอด จะยังมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และคาสายสวนปัสสาวะไว้ในช่วงแรกเนื่องจากยังต้องนอนพักฟื้นที่เตียง อาจจะมีเจ็บแผลซึ่งแพทย์จะสั่งยาลดปวดไว้ให้อยู่แล้ว
- วันรุ่งขึ้นแพทย์จะให้ถอดสายสวนปัสสาวะออก และเข้าห้องน้ำเอง การเคลื่อนไหวจะช่วยให้แผลสมานได้เร็วขึ้น และลดอาการท้องผูก แม่จะพักฟื้นที่โรงพยาบาล 2-3 วัน เพื่อติดตามอาการ
- การเย็บแผลผ่าตัดแพทย์อาจใช้ไหมละลาย หรือใช้ไหมที่ต้องตัดไหม ที่สำคัญแม่ต้องไม่ให้แผลโดนน้ำ แพทย์จะนัดดูแผลประมาณ 7 วันหลังผ่าตัด หากแผลติดดีแผลจึงจะโดนน้ำได้
- การทานอาหารจะเริ่มจากการทานอาหารเหลว เช่นน้ำซุปไสก่อน ถ้าทานได้แพทย์จะให้ทานเป็นอาหารอ่อน
- แม้ว่าเป็นการผ่าคลอด แม่จะยังคงมีน้ำคาวปลาอยู่ ในวันแรกๆ น้ำคาวปลาจะมีสีแดง หลังจากนั้นสีจะอ่อนลง ปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ และหยุดไปเองในสัปดาห์ที่ 2-3 หลังผ่าคลอด
การผ่าคลอดสามารถทำได้หลายครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้ง เพราะทุกครั้งที่ผ่าตัดจะเกิดพังผืด ซึ่งอาจดึงรั้งกับอวัยวะภายใน อาจมีความเสี่ยงที่จะโดนอวัยวะภายใน หากผ่าคลอดหลายครั้ง และแม่ที่ผ่าคลอดแล้วหากท้องครั้งต่อไป ควรจะผ่าคลอด ไม่ควรคลอดแบบธรรมชาติ เพราะ ช่วงล่างของมดลูก ตำแหน่งที่เคยผ่าตัด จะบางตัว มดลูกจึงไม่เหมาะกับการถูกบีบรัดมากๆอาจเสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตก คุณแม่อย่าพึ่งวิตกกังวลไปกับวิธีการคลอดไปก่อนล่วงหน้า สิ่งสำคัญ คือการฝากครรภ์ ตามที่แพทย์นัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อแพทย์จะได้ประเมินความเสี่ยงการคลอด และเลือกวิธีการคลอดที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับแม่ทุกคน
➡ คลิ๊กดูรายละเอียดแพ็คเกจคลอด
เวลาทำการ
ศูนย์สูติ – นรีเวช และผู้มีบุตรยาก โทรศัพท์ 034-417-999 สายด่วน 1715 ต่อ 158, 221, 222
ทีมแพทย์สูติ-นรีเวช >>คลิ๊ก<< View our Specialists in our Obstetrics Doctors Page
สามารถชมวิดีโอของศูนย์สูติ-นรีเวชได้ตามรายการ
- สัมภาษณ์ลูกค้า ที่ทำการต่อหมัน https://youtu.be/W7LAsKnx_Bs
- ตอบคำถามเรื่องการแก้หมัน / ต่อหมัน https://youtu.be/rWHXdWmqsQc
- เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวชช่วยโรคภายในของคุณผู้หญิง https://youtu.be/HniuLJLj_X0
- วัยทอง https://youtu.be/k3_W3FiGWEU
- อาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณผู้หญิงหรือไม่? https://youtu.be/sHy7hC8qMnU
- COVID 19 กับคุณแม่ตั้งครรภ์ https://youtu.be/Y4oVccavDHM
- ลูกดิ้น นับอย่างไร และควรสังเกตอย่างไร https://youtu.be/uFQfzS-Y_IU
- ลูกสะอึกกับลูกดิ้นแตกต่างกันอย่างไร อันตรายหรือไม่ https://youtu.be/uoivg6bKu98
- ยาประเภทไหนที่มีผลต่อลูก สำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ https://youtu.be/GuaVDfANRB4
- คำแนะนำการดูแลคุณแม่หลังคลอด https://youtu.be/thYpqQ8jvC4
- อาการเจ็บท้องเตือนกับอาการเจ็บท้องจริง สังเกตุอย่างไร? https://youtu.be/FbwZ_vEnkDQ