คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณไขมันในเลือดสูงเกินความเหมาะสม จนก่อปัญหาด้านสุขภาพหรือทำให้เกิดโรคประจำตัวบางชนิด โดยปกติร่างกายคนเราจะมีไขมันอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

1.คอเลสเตอรอล (Cholesterol) แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • ไขมันดี (HDL – High-Density Lipoprotein) มีบทบาทในการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นไขมันที่ช่วยนำคอเลสเตอรอลและกรดไขมันจากส่วนต่างๆ ของร่างกายออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้ไขมันเลวเข้าไปสะสมในหลอดเลือดแดง
  • ไขมันเลว (LDL – Low-Density Lipoprotein) ไขมันชนิดนี้ เมื่อมีระดับที่สูงขึ้น จะเสี่ยงต่อการสะสมที่ผนังหลอดเลือด และอาจทำให้เกิดการตีบหรืออุดตันในหลอดเลือด ซึ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

2.ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากน้ำตาลและแป้ง หรือจากอาหารอื่นๆ ที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องนาน ซึ่งร่างกายจะเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้เป็นพลังงาน หากมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง โอกาสที่จะเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็จะมีมากขึ้น

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง

  • ความผิดปกติของพันธุกรรม ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญไขมัน
  • มีโรคประจำตัวบางอย่างที่สามารถส่งผลกระทบให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูงขึ้นได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน
  • เกิดจากการทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์
  • การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ
  • สูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ

อาการเมื่อมีไขมันไนเลือดสูง เป็นอย่างไร ?

ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ในระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการแสดงออกที่ชัดเจน แต่หากมีภาวะไขมันในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องนานๆ โดยที่ไม่ได้รับการควบคุม มักมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้ ซึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เมื่อมีภาวะเสี่ยงต่อไขมันในเลือดสูง มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้ามืดบ่อยๆ
  • เหนื่อยง่าย
  • หายใจเหนื่อย
  • ใจสั่น
  • เจ็บหน้าอก

จะดูแลและป้องกันสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคไขมันในเลือดสูงได้อย่างไร ?

  • ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล กะทิ และอาหารที่ได้จากการทอด เป็นต้น
  • เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง เพราะสามารถช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดได้
  • ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น อาหารที่ทำจากพืช เมล็ดถั่วชนิดต่างๆ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำและปลาชนิดต่างๆ เป็นต้น
  • ลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • งดสูบบุหรี่
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ

034-417-999 หรือ สายด่วน 1715 ต่อ 122, 124