( Traumatic Stress Disorder )

เป็นภาวะทางจิตใจที่ป่วยและเครียดภายหลังต้องเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงและสะเทือนจิตใจ แต่รอดชีวิตมาได้ หรือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดมีความเครียดทางด้านจิตใจ กรณีรายที่ได้พบความรุนแรงมาก กระทบจิตใจมาก อาจก่อให้เกิดโรคทางจิตใจที่ซื่อว่า โรค Post-Traumatic Stress Disorder : PTSD หรือภาวะป่วยทางใจหลังประสบเหตุรุนแรง  โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับเหตุการณ์ เช่น

  • ภัยธรรมชาติต่างๆ
  • อุบัติเหตุร้ายแรง รวมถึงอุบัติภัยหมู่
  • การก่อจราจล การต้องเผชิญกับสงคราม เหตุสังหารหมู่
  • การฆาตกรรม บุคคลอันเป็นที่รักฆ่าตัวตาย
  • การถูกทำร้ายร่างกาย คุกคามทางเพศ
  • ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

อาการของ PTSD มี 2 ระยะ

ระยะที่ 1 เกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังเหตุการณ์ เรียกว่า Acute Stress Disorder (ASD)  หรือ โรคเครียดฉับพลัน หากผู้ป่วยรีบหาทางรักษา และรับการช่วยเหลือทางจิตใจทันเวลา ก็จะสามารถหายได้  แต่หากหลังเกิดเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือนแล้ว อาการนี้ยังไม่หายไปจะเข้าสู่ระยะของโรคที่เรียกว่า PTSD

ระยะที่ 2 คือหลังเกิดเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือน แล้วภาวะเครียดยังคงอยู่ จะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า PTSD  โดยอาจมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้

  • คิดว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้น (Re-experiencing) ไม่สามารถหลุดพ้นและปล่อยวางจากเหตุการณ์เหล่านี้ คิดวนเวียนถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ หรือนึกถึงความทรงจำเลวร้ายนั้นขึ้นมาเอง ทำให้รู้สึกเหมือนต้องไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำไปซ้ำมาจนตกใจกลัว (Flashback) การฝันถึงซ้ำๆ
  • กลัวและหลีกเลี่ยง (Avoidance) กลัวสถานที่หรือสถานการณ์หลังจากประสบเหตุนั้นๆ หลีกเลี่ยงที่จะคิดและรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ไม่กล้าเผชิญกับปัจจัยสิ่งเร้าภายนอกที่จะทำให้นึกถึงเหตุการณ์ เช่น กลัวสถานที่ สถานการณ์ กิจกรรม หรือบทสนทนา
  • มีความรู้สึกนึกคิดในทางลบ (Negative alteration of cognition and mood)  ไม่มีความสุข แปลกแยกจากผู้อื่น มีการตีความขยายออกไปในทางลบ บางรายไม่สามารถจดจำส่วนที่สำคัญของเหตุการณ์นั้นได้ ทำให้อาจมีความคิดบิดเบือนจากสาเหตุและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมาของเหตุการณ์ ซึ่งความคิดดังกล่าวจะนำไปสู่การตำหนิตัวเองและคนอื่น ส่งผลให้มีอารมณ์ฝังใจในทางลบ ขี้โกรธ ขี้อาย ขี้กลัว รู้สึกผิดอยู่ตลอดเวลา
  • อาการตกใจและหวาดกลัว (Hyperarousal symptoms) เป็นอาการคอยจับจ้อง คอยระวังตัว ตื่นตัว และมักมีอาการหงุดหงิด ตกใจง่าย โกรธง่าย รวมถึงสะดุ้งและผวาง่ายขึ้นกับเสียงดังๆ ส่งผลให้ขาดสมาธิ นอนหลับไม่สนิท หลับยาก หรือชอบสะดุ้งตื่นในขณะที่นอนหลับ

“เด็ก”  ไม่สามารถสื่อสารอารมณ์ความเครียด ไม่สามารถเข้าใจได้เท่าผู้ใหญ่ และสามารถซึมซับ พฤติกรรมเลียนแบบ เร็วกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า ครอบครัวจึงมีส่วนสำคัญในการสังเกต และดูแลเด็ก ที่มีภาวะ PTSD

ข้อสังเกตุว่า “เด็ก” อาจอยู่ในภาวะ PTSD

  • อายุเด็ก ความรุนแรงที่ได้รับและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความหมายต่อผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน
  • ความยาวนานของระยะเวลาที่ประสบเหตุการณ์
  • บุคลิกและวิธีการเผชิญต่อสภาวะความเครียดผู้ป่วยเอง
  • ประสบการณ์เก่าที่เคยมีมาก่อนเด็กต้องเผชิญกับความยากลำบากทางด้านจิตใจสังคมอย่างต่อเนื่อง
  • สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ขาดการสนับสนุนจากสังคมรอบ
  • งอแงง่าย เรียกร้องความสนใจมากกว่าปกติ แยกตัวไม่อยากไปโรงเรียน
  • นอนไม่หลับ หลับไม่ดี ฝันร้าย
  • หวาดผวา กลัวการแยกจากผู้ปกครอง
  • สุขภาพจิตของพ่อแม่ของเด็กที่แสดงออกถึงความวิตกกังวล ซึมเศร้าหลังเกิดเหตุการณ์มีส่วนสำคัญต่อการเกิด PTSD ในเด็กได้ รวมถึงการที่พ่อแม่ไม่สนับสนุน ไม่ให้กำลังใจ ไม่เป็นมิตรกับเด็ก การเลี้ยงดูแบบบังคับด้วย

สิ่งที่ควรทำ เมื่อเด็กที่มีภาวะ PTSD

  • คำนึกถึงความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง
  • รีบให้เด็กกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตปกติ
  • ผู้ใหญ่จัดการอารมณ์ตนเองเป็นต้นแบบ
  • มีผู้ใหญ่/ผู้ปกครอง ดูแลใกล้ชิด เป็นพี่พึ่งทางจิตใจ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีสูญเสีย
  • พาทำกิจดรรมผ่อนคลาย เช่น ปั้นดิน เล่นทราย ศิลปะ ร้องเพลง

ทั้งนี้ไม่ควรถามเด็กให้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิด ไม่ให้เด็กเสพข่าวเหตุการณ์นั้น หรือนำเด็กมาออกข่าว 

เหตุการณ์ความรุนแรง ความกลัว สามารถเกิดได้ตามระดับการเผชิญเหตุการณ์  ทั้งนี้ตามกระบวนการธรรมชาติจะดีขึ้นภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน แต่หากยังมีปัญหาหรือความผิดปกติคงอยู่ ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งการเรียน การทำงาน และทำให้การดำรงชีวิตประจำวันให้แย่ลง  แนะนำควรเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ที่มาข้อมูล : กรมสุขภาพจิต

ศูนย์พัฒนาการเด็กและวัยรุ่น ต่อ 9125

คลินิกสุขภาพใจ ต่อ 110

โรงพยาบาลเอกชัย โทร. 034-417-999 สายด่วน 1715