พบน้อย อันตรายถึงชีวิต เสี่ยงทุกวัยแม้สุขภาพแข็งแรง

อันตรายมากในเด็กเล็ก ไม่มียารักษา ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) ที่ไม่ได้เป็นโดยกำเนิด จะเกิดจากปัจจัยภายนอก โดยเกิดจากเชื้อแบททีเรีย และไวรัสในกลุ่มอินเทอร์ไวรัสเช่น Enterovirus  โดยตัวที่พบบ่อยได้แก่ Enterovirus-A71, Coxsackie B, Echo Virus หรือ โรคมือเท้าปาก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น โดยโรคดังกล่าวจะพบบ่อยในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี  โดยมีโอกาสน้อยมาก ที่เชื้อไวรัสจะมุ่งไปสู่หัวใจ ก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  ซึ่งมีโอกาสเกิดค่อนข้างน้อย แต่หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ความรุนแรงของโรคจะรุนแรง  เพราะจะทำให้หัวใจไม่สามารถบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ หัวใจก็จะขยายโป่งพองออก แรงบีบไม่มี

 อาการของโรค

  • ไข้ เป็นลม
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว ตัวเขียว
  • หัวใจเต้นเร็ว หรือผิดปกติ เหนื่อยหอบ

 การรักษาอาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กจากการติดเชื้อไวรัส

เป็นการรักษาอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็ก  โดยขึ้นอยู่ความรุนแรงของโรค  ในรายที่ไม่รุนแรงจะทำให้การอักเสบลดลงแต่ในรายที่รุนแรงจนหัวใจวาย คือมีการกระทบกระเทือนกระแสไฟฟ้าหัวใจ  จนทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ กลุ่มนี้จะรุนแรง การรักษาจะรักษาตามอาการก็เพื่อใช้ชีวิตผู้ป่วยให้ปลอดภัย  โดยผลจากการรักษาจะมีทั้งหายเป็นปกติ หายและยังมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจคงค้าง และร้ายแรงที่สุดคือไม่สามารถรักษาได้จนต้องเสียชีวิต

การป้องกันที่ดีที่สุด…คือวัคซีน

การป้องกันก็เหมือนกับการป้องกันไวรัสอื่นๆ คือ การดูแลเรื่องสุขอนามัย คือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ กรณีที่ไม่สบายควรสวมหน้ากากอนามัย ส่วนเด็กเล็กควรหยุดเรียน และพบแพทย์เพื่อป้องกันอาการที่รุนแรง และแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันลูกน้อย โดยปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส หลายชนิด ที่จะช่วยป้องกันโรคทางตรงจากเชื้อ นั้นนั้น รวมถึงสามารถช่วยป้องกันเชื้อที่จะส่งผลต่อหัวใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้ต่อไปนี้

  1. วัคซีนป้องกันมือเท้าปาก เพื่อป้องกันโรคมือเท้าปาก หรือ เฮอร์แปงไจน่า โดยปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก สายพันธุ์ EV71 สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
  2. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยแนะนำทุกท่านในครอบครัวให้ฉีดเป็นประจำทุกปี โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
  3. วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกโดยแนะนำควรฉีดในเด็กและผู้สูงอายุ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี ขึ้นไป
  4. วัคซีนป้องกันสุกใส เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรคสุกใส แนะนำให้ฉีดได้ที่อายุ 1 ปี ขึ้นไป

สำคัญที่สุดคือแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการน้องๆ เวลาไม่สบายอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการไข้ และเมื่อพบว่ามีความผิดปกติ ไข้ไม่ลด อาการเพิ่มขึ้น ควรรีบนำมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษา  ทั้งนี้เพื่อลดการเกิดโรค และลดความรุนแรงของโรค การป้องกันลูกน้อยด้วยการรับวัคซีนนับได้ว่าเป็นวีธีการที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

บทความโดย: พญ.มานิตา ทรงสุวรรณ

ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลเอกชัย

โทร. (034) 417-999 ต่อ 9221 สายด่วน 1715