การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร เป็น วิธีการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง ช่วยจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทาน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก
วิธีการผ่าตัดที่นิยมทำมี 3 วิธีได้แก่
วิธีที่ 1 การผ่าตัดลดความอ้วนแบบใช้เข็มขัดรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding)
โดยใช้วิธีการเจาะแผลเล็กๆที่หน้าท้อง ใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายเข็ดขัดสอดเข้าไปรัดกระเพาะอาหารตอนบน ทำให้กระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลง รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น เป็นวิธีการผ่าตัดที่ได้ผลดี เมื่อน้ำหนักตัวคงที่ สามารถกลับมาแก้ไขนำสายรัดกระเพาะออกได้ในภายหลัง
วิธีที่ 2 การผ่าตัดลดความอ้วนแบบตัดต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (Gastric Bypass)
ศัลยแพทย์ จะทำการส่องกล้องเข้าไปตัดเย็บจะเอาลำไส้เล็กอ้อมผ่าน มาต่อเข้า กับกระเปาะกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ผ่านกระเพาะอาหารกระเปาะใหญ่ ผลก็คืออาหาร และแคลอรีจะดูด ซึม เข้าสู่ร่างกายลดลง
วิธีที่ 3 การผ่าตัดลดขนาดของกระเพาะลง (Sleeve Gastrectomy)
เป็นการตัดกระเพาะอาหารออกไป โดยตัดออกประมาณ 85% ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง เป็นการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมมากในขณะนี้ เพราะไม่ต้องตัดต่อกับลำไส้เล็ก และสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 40-60 % ของน้ำหนักเดิมในปีแรกหลังผ่าตัด และเป็นการรักษาโรคที่เกิดจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดันไปด้วย โดยสามารถทำผ่าตัดได้ ในเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
- ผู้ที่มีน้ำหนักมากโดยวัดค่าดัชนี มวลกาย (BMI)มากกว่า 40 กก./ตร.ม.
- ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) 35 กก./ตร.ม. ร่วมกับมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรืออาการปวดข้อเนื่องจากรับน้ำหนักตัวมากเกินไป
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องตรวจร่างกายและส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เพื่อให้มั่นใจว่ามีสุขภาพแข็งแรงเพียงพอที่จะเข้ารับการผ่าตัด
- เข้ารับการทดสอบสภาพจิตใจว่าพร้อมจะเข้ารับการผ่าตัดและพร้อมจะเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพหลังการผ่าตัดหรือไม่
- ประเมินภาวะโรคที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคปอด เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถควบคุมโรคต่างๆ เหล่านี้ และเข้ารับการผ่าตัดได้
- หากผู้ป่วยสูบบุหรี่ จะต้องหยุดสูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัด 2-3 สัปดาห์ รวมถึงหลังการผ่าตัดด้วย เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวช้าและเพิ่มความเสี่ยงของปัญหา ต่างๆ
- แจ้งแพทย์และพยาบาลหากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่
- งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืนในวันที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด หากมียาที่ต้องรับประทานตามแพทย์สั่ง ให้รับประทานยาพร้อมจิบน้ำน้อยๆ
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด
- โดยทั่วไปผู้ป่วยจะพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3 วัน แต่ขึ้นกับความสมบูรณ์ของร่างกายของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดหรือต้องเข้ารับการผ่าตัดเพิ่มเติม อาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น
- หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการควบคุมอาหารทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยจะได้รับแผนการรับประทาน อาหารจากแพทย์และต้องเข้ารับคำปรึกษาจากนักโภชนาการ โดยทั่วไปแล้วควรปฏิบัติดังนี้
- หลัง 4 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะรับประทานได้แต่อาหารเหลว เช่น ซุปใส ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาล น้ำผัก น้ำผลไม้ โยเกิร์ต แต่ผู้ป่วยจะต้องจำกัดปริมาณสารน้ำที่ได้รับในแต่ละครั้ง และให้รับประทานครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
- ใน 2 สัปดาห์ถัดมา ผู้ป่วยจะได้รับการจำกัดให้รับประทานอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ เช่น ข้าวต้ม หลังจากนั้นจะปรับเปลี่ยนเป็นอาหารปกติ แต่ควรรับประทานในปริมาณน้อยๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดและนานกว่าปกติก่อนกลืน และไม่ควรดื่มน้ำพร้อมกับการรับประทานอาหาร ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร 15-30 นาที
- ผู้ป่วยจะได้รับรายละเอียดผลการผ่าตัดในภายหลัง และจะต้องกลับมาพบแพทย์อีกครั้งเพื่อตรวจเชคหากจำเป็น โดยปกติแล้วแพทย์จะทำการนัดให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจเป็นระยะๆ ไปโปรดตระหนักว่า รูปแบบการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากต่อการที่จะประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักการผ่าตัดโรค อ้วนนั้นเป็นหัตถการที่ต้องอาศัยการควบคุมหลังจากนั้น
แนวทางการรับประทานอาหาร
1. รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน และจำกัดอาหารว่างที่ไม่จำเป็นระหว่างมื้อ
การลดน้ำหนักจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณรับประทาน อาหารว่างที่ไม่มีประโยชน์ระหว่างมื้อ (เช่น ขนมกรุบกรอบ ขนมอบต่างๆ ฯลฯ) หรือการรับประทานบ่อยครั้ง จะทำให้การลดน้ำหนักไม่ประสบความสำเร็จ และทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับปริมาณแคลอรี่มากเกินความจำเป็น
2. รับประทานอาหารช้าๆและเคี้ยวให้ละเอียดเหลว
การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดจะทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ การเคี้ยวให้ละเอียดเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องละเอียดจนเหลวเท่านั้น และควรตัดอาหารให้เป็นชิ้นเล็กๆก่อนรับประทาน หรืออาจจะหยุดพัก 1 นาทีก่อนรับประทานคำต่อไป และควรใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีในการรับประทานอาหารต่อมื้อ
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล
ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลปรากฏเป็นส่วนประกอบ 3 อันดับแรกบนฉลาก จำนวนกรัมที่ระบุบนฉลากนั้นระบุว่าเป็นน้ำตาลตามธรรมชาติหรือน้ำตาลที่เติม เข้าไป ดังนั้น การอ่านฉลากอาหารเป็นเรื่องจำเป็น ทำให้ทราบว่า น้ำตาลในอาหารชนิดนั้นเป็นน้ำตาลแบบใด และ ควรจำกัดปริมาณน้ำตาลให้เหลือเพียง 15 กรัม หรือน้อยกว่านั้น ต่อการรับประทานหนึ่งมื้อ เพื่อช่วยควบคุมแคลอรี่ในอาหาร
ทีมแพทย์ศูนย์ลดน้ำหนัก
นายแพทย์จักรกฤษ อุ้ยนิรันดรกุล
ติดด่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่ ศูนย์ลดน้ำหนัก ชั้น 2 โทร 1715 หรือ 034-417-999 ต่อ 132, 133