การพูด คือหนี่งในพัฒนาการที่สำคัญยิ่งสำหรับลูกน้อย  เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอื่นๆต่อไป  โดยทั่วไปแล้วเด็กที่เจริญเติบโต และมีพัฒนาการเป็นปกติ ก็จะมีพัฒนาการ ด้านการพูดเป็นปกติ จะเป็นไปตามวัย อย่างเป็นธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดและใช้ภาษา หากสังเกตุความผิดปกติได้ช้า นอกจากจะแก้ไขยากแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจตามมา เนื่องจากไม่สามารถจะติดต่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มักจะหงุดหงิด ก้าวร้าว ฉุนเฉียว เกเร ไม่มีเพื่อน และมีปัญหาในการเข้าสังคมและการเรียนต่อไป

18231015_m

 

โรคที่พบได้จากการพูดที่ผิดปกติ….

  1. การได้ยินผิดปกติ  ไม่เข้าใจคำสั่ง พูดไม่ได้ ร่วมกับไม่ตอบสนองต่อเสียง จ้องมองหน้าหรือริมฝีปากของคู่สนทนา และใช้ภาษาหรือท่าทางในการสื่อสาร อาจพบปัญหาทางอารมณ์ร่วม
  2. ภาวะสติปัญญาบกพร่อง / ปัญญาอ่อน
  3. ออทิสติก
  4. พัฒนาการทางภาษาผิดปกติ
  5. ขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม

 

เมื่อไหร่จึงควรไปพบนักฝึกพูด

การที่จะบอกว่าลูกมีปัญหาทางด้านการพูดหรือพูดช้าหรือไม่นั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกว่ามีพฤติกรรมการพูดตั้งแต่ขวบปีแรก และการพบความผิดปกติได้เร็ว ก็จะทำให้ลูกได้รับการรักษาได้เร็ว  โดยลูกจะมีลำดับขั้นของพัฒนาด้านภาษาและการพูดอย่างต่อเนื่อง จนสามารถใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ เมื่ออายุ 7 ปี ขึ้นไป รวมถึงสมองด้านการพัฒนาทักษะการพูดก็จะหยุดลงด้วย ดังนั้นจึงควรเข้ารับการรักษาก่อนช่วงอายุดังกล่าว จึงจะได้ผลดีที่สุด

 

พัฒนาการทางด้านการพูด ในแต่ละช่วงอายุ:

ช่วงอายุ การเข้าใจภาษา การใช้ภาษา
3 – 4 เดือน – ส่งเสียงโต้ตอบ  ทำเสียง “อาอือ”

– หัวเราะเสียงดัง

4– 10 เดือน – เล่นเสียงสูงต่ำ เริ่มมีเสียงพยัญชนะ

– เปล่งเสียงซ้ำๆ

10 – 12 เดือน – พูดคำที่มีความหมาย หลายคำติดกัน

– พูดเลียนคำท้าย

–  ชี้อวัยวะร่างกายตามคำบอก

12 – 24 เดือน – เข้าใจคำพูดที่ได้ยินบ่อย ๆ

– ทำตามคำสั่งที่ซับซ้อนขึ้น

– เข้าใจคำห้ามง่ายๆ

– พูดเป็นคำที่มีความหมายได้ราว 10 – 50 คำ เพื่อบอกความต้องการ
24 – 36 เดือน – เข้าใจประโยคคำถามง่ายๆ ได้

– รู้จักและเข้าใจคำศัพท์ อย่างน้อย 500 คำ

– พูดเป็นวลี 2 คำต่อกันได้

– ตอบคำถามง่ายๆ เช่น ใช่ หรือ ไม่ได้

36 – 48 เดือน – เรียนรู้การเข้าสังคมด้วยการพูด – พูดเป็นประโยคแล้ว ใช้ในการบอกเล่า ปฏิเสธ ถามคำถาม

– รู้จักถาม อะไร ใคร ที่ไหน

48 – 72 เดือน – เข้าใจรูปประโยคที่เป็นเหตุผล

– ข้าใจลำดับเวลา

– รุ้จักความหมายของป้าย หรือสัญลักษณ์ที่พบเห็น

– เข้าใจว่าสิ่งของมีคุณลักษณะเหมือนกัน ต่างกัน อย่างไร

– ถามคำถามทำไม เมื่อไหร่ อย่างไร

– ลักษณะประโยคมีความยาวคล้ายผู้ใหญ่

– เล่าเรื่องที่คุ้นเคย

– เล่าเรื่องเรียงลำดับเหตุการณ์

– รู้จักใช้คำเปรียบเทียบ ขนาดรูปร่าง ลักษณะ

นอกจากการสังเกตการณ์พูดของลูกน้อย เพื่อพิจารณาความผิดปกติที่เกิด เพื่อการรับการรักษาแล้ว ครอบครัวยังมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูดตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนาการได้ โดยมีหลากหลายวิธี เริ่มจากการเตรียมความพร้อมเด็กก่อนที่จะสอนพูด ควรฝึกการเปล่งลม เคลื่อนไหวปาก โดยการเป่ามือ เป่ากระดาษ เป่าลูกปิงปอง เป่าฟองสบู่ เป่านกหวีด ฝึกการเคลื่อนไหวลิ้น โดยการอมลูกอม เลียอมยิ้ม และฝึกการเล่นเสียงในถ้วย   นอกจากนี้ ยังเป็นการฝึกพูดผ่านของเล่น พร้อมการพูดคุย การสร้างสถานการณ์ ที่กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารเป็นต้น  แต่ทั้งนี้หากพบความผิดปกติของลูก ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินปัญหาเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการรักษา

11479057_s

ข้อมูลเพิ่มเติม  :  คลินิกแก้ไขการพูด   ศูนย์แม่และเด็ก

——————————————————————–

ข้อมูลคลินิก

คลินิกแก้ไขการพูด Speech Therapy

ให้การบริการครอบคลุม ปัญหาทางด้านภาษา และการพูด ได้แก่

1. คัดกรองหาข้อบ่งชี้ ประเมินสภาพความผิดปกติทางด้านภาษาและการพูด เช่น

  • พูดไม่ชัด
  • จังหวะการพูดผิดปกติ(พูดติดอ่าง พูดรัวเร็ว)
  • พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้าไม่สมวัย
  • อาการผิดปกติของการพูด ความเข้าใจภาษา (Aphasia)
  • เสียงผิดปกติ
  • พูดผิดปกติจากความบกพร่องของระบบประสาทควบคุมการพูด
  • พูดผิดปกติจากปากแหว่งเพดานโหว่
  • ความผิดปกติทางภาษาและการพูดจากความบกพร่องทางการเรียนรู้

2. ทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูด

3. บำบัดรักษา แก้ไข และฟื้นฟูสมรรถภาพการพูด

4. วินิจฉัยความผิดปกติทางภาษาและการพูด

5. ให้คำแนะนำด้านการฝึกภาษาและจัดโปรแกรมเพื่อให้ผู้ปกครองนำไปฝึกที่บ้าน

ปรึกษานักฝึกพูด ติดต่อ : ศูนย์พัฒนาการเด็กและวัยรุ่น (Child and Teen Development Center ) โทร. 1715 หรือ 034-417-999 ต่อ 9125, 9126