“อาหาร” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คนเราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่เชื่อหรือไม่คะว่า? อาหารที่เรารับประทาน เพื่อหวังที่จะต้องการพลังงานและสารอาหารจากมันนั้น มันกลับก่อให้เกิดโรคร้ายแก่เราอย่างเงียบ ๆ และโรคที่ว่านี้ก็คือ “โรคภูมิแพ้อาหารแฝง”

ด้วยสิ่งแวดล้อมและภาวะที่เร่งรีบของชีวิตคนในยุคปัจจุบัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เราวนเวียนกับการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นนี้ ซึ่งการรับประทานอาหารซ้ำ ๆ แบบเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ นั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อาหารแฝงนั่นเองค่ะ

Untitled-3

โรคภูมิแพ้อาหารแฝงนี้แตกต่างจากโรคภูมิแพ้อาหารอย่างที่เรารู้จักกัน การแพ้อาหารนั้น เป็นการตอบสนองของร่างกายกับสารบางชนิดในอาหาร ทั้ง ๆ ที่สารนั้นไม่ได้เป็นสารพิษแต่อย่างใดค่ะ ซึ่งการแพ้อาหารโดยทั่วไปมักเกิดอย่างฉับพลันทันที หรือเว้นระยะเพียงเล็กน้อยหลังรับประทาน ต่างจากโรคภูมิแพ้อาหารแฝง ที่ไม่มีการแสดงออกถึงอาการแพ้แต่อย่างใด
ส่วนโรคภูมิแพ้อาหารแฝงนั้น ไม่ได้แสดงอาการเฉียบพลันทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ สะสมเป็นภัยคุกคามอย่างเงียบ ๆ โดยอาหารจะไปกระตุ้น อิมมูโนโกลบูลินชนิด จี (Ig G) แต่จะไม่ได้ไปกระตุ้นมาสต์เซลล์อย่างการแพ้อาหารปกติ ทำให้ไม่แสดงอาการแพ้ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ เมื่อเรารับประทานอาหารวนเวียนซ้ำ ๆ ในแบบเดิมอยู่เรื่อย ๆ ร่างกายเราก็จะได้รับสารอาหารชนิดเดิม ๆ ซึ่งจะเป็นการไปกระตุ้น Ig G ให้มีการสร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมากเกินกว่าที่ร่างกายจะกำจัดให้หมดออกไปได้ จนกลายมาเป็นสารภูมิต้านทานอิสระ และค่อย ๆ กระตุ้นให้เกิดโรคเรื้อรังในที่สุด

ผลกระทบจากโรคแพ้อาหารแฝงนี้ มักขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ได้รับ ซึ่งมักมีอาการหลากหลาย ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาใหญ่ เช่น บางคนแพ้เครื่องสำอางค์ที่ใช้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว หรือเป็นสิวเรื้อรัง แม้อายุจะผ่านพ้นช่วงมีประจำเดือนแล้วก็ตาม หรือลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรัง เช่น หวัดเรื้อรัง ข้ออักเสบเรื้อรัง และอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง หรือออทิสติก เป็นต้น
ส่วนการทดสอบโรคภูมิแพ้อาหารแฝงนี้ ไม่สามารถทำได้ด้วยการทดสอบทางผิวหนัง แต่ต้องทำการเจาะเลือด และนำเลือดไปตรวจหาปฏิกิริยาของเม็ดเลือดขาวกับอาหารชนิดนั้น ๆ ซึ่งถ้าหากรู้ว่าตนเองแพ้อาหารชนิดใด ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้นไปซักระยะหนึ่ง อาจประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้ร่างกายกำจัดสารอาหารชนิดนั้นออกให้หมดก่อน และหลังจากนั้นก็จะสามารถกลับมาทานอาหารได้ตามปกติอีกครั้งหนึ่ง แต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินด้วยการหมุนเวียนหมู่อาหาร ไม่ทานอาหารแบบเดิมซ้ำกันทุกวัน รวมทั้งจะต้องฟื้นฟูการทำงานของระบบทางเดินอาหารในแง่ของการย่อย การดูดซึม และสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ควบคู่กันไปด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นมาอีก

ทุกสิ่งอย่าง…หากตั้งอยู่บนความสมดุล มักเกิดคุณค่าและประโยชน์แก่ตนเองอย่างยิ่ง ในการรับประทานอาหารก็เช่นกัน หากรู้จักเลือกรับประทานอาหาร โดยไม่รับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป หรือน้อยเกินไป แต่ควรรับประทานอาหารให้พอดี ซึ่งคำว่า “พอดี” ในที่นี้ ก็คือพอดีทั้งชนิดและปริมาณของอาหาร โดยให้เกิดความหลายหลาย ไม่ซ้ำซากจำเจ

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงสารพิษต่างๆ ที่แฝงมาทางอาหาร ด้วยการวางแผนโภชนาการให้คุณได้รับสารอาหารครบถ้วน พร้อมป้องกันโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โทร 034-417999 หรือ สายด่วน 1715 ต่อ 122, 124