ข้อสังเกตในทารกแรกเกิด
- ทารกได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีมี่ต้นขาข้างซ้าย และวิตามินเคป้องกันเลือดออกในสมองที่ต้นขาข้างขวา
- ทารกได้รับวัคซีนบีซีจี (BCG) ป้องกันวัณโรคที่หัวไหล่ซ้าย 3 – 4 สัปดาห์จะมีตุ่มแดงหรือตุ่มหนองขึ้นอาจจะแตกได้ให้เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วทุกครั้งหลังอาบน้ำ และตุ่มจะยุบเอง ภายใน 3 – 6 สัปดาห์
- ทารกจะเริ่มตัวเหลืองเมื่อ 2-3 วัน และหายไปเมื่ออายุ 1 สัปดาห์ แต่ถ้ายังเหลืองมากขึ้นเรื่อยๆ ถือว่าผิดปกติ ให้มาพบแพทย์ทันที
- อาการผิดปกติอื่นๆ ที่ต้องมาพบแพทย์
- ซึมลง ไม่ร้อง ดูดนมได้น้อยหรือดูดนมแล้วเขียว สำลัก
- ปัสสาวะสีเข้มจนเป็นสีชา
- กระตุก เกร็ง ชัก
- ทารกจะถ่ายอุจจาระบ่อย 6 – 8 ครั้งต่อวัน ลักษณะเป็นน้ำปนเนื้อ โดยเฉพาะทารกที่ได้รับนมแม่
การดูแลสายสะดือ
- เช็ดสายสะดือ ทำได้โดยดึงสายสะดือยกขึ้น และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดจากโคนสะดือมาถึงปลายโดยเช็ดเป็นทางเดียวรอบสะดือ
- เช็ดสะดืออย่างน้อยวันละ 2 – 3 ครั้ง หรือหลังอาบน้ำจนกว่าสะดือจะหลุด และเช็ดไปจนสะดือจะปิด
- สายสะดือจะหลุดประมาณ 1 – 2 สัปดาห์หลังคลอด
การปฏิบัติตนเมื่อให้นมลูก
- ก่อนและหลังให้นมใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วเช็ดหัวนมให้สะอาด
- ให้ลูกดูดนมตามที่ต้องการ ข้างละประมาณ 15 – 30 นาที
- ควรอุ้มให้ลูกอยู่ในระดับเดียวกับหน้าอกมารดาโดยเต้านมจะอยู่ที่แก้มทารกพอดีแล้วตะแคงตัวลูกเข้าหาหน้าอกมารดา และใช้มืออีกข้างประคองเต้านมอาจใช้หมอนรองใต้แขนเพื่อไม่ให้เมื่อย
- หลังป้อนนมแล้วทำความสะอาดมุมปากและแก้มทั้ง 2 ข้างให้สะอาด
การดูแลความสะอาดทั่วไปของทารก
- ตา ถ้ามีขี้ตา เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นจากหัวตาไปหางตา
- จมูกใช้ไม้พันสำลีขนาดพอเหมาะชุบน้ำอุ่นต้มสุกเช็ดรอบๆ โพรงจมูกอย่างระมัดระวัง
- บริเวณก้น ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งที่ทารกขับถ่าย ใช้สำลีชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดก้นให้สะอาด หรือทาด้วยวาสลีนก่อนใส่ผ้าอ้อมใหม่
- ควรอาบน้ำและสระผมให้ทารกทุกวัน เลือกเวลาที่อากาศไม่เย็นจัด ลมไม่โกรก และน้ำอุ่นพอเหมาะ
- ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศ ดูแลให้สะอาด และแห้งเสมอ
วิธีชงนมผสม
- อัตราส่วนในการชงนมควรดูที่ฉลากข้างกระป๋อง
- ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วในการชงนม เพื่อรักษาสารอาหารในนม
- ผสมนมโดยการจับขวดแล้วหมุนมือเป็นวงกลม เหมือนเอาขวดนมแกว่งน้ำเพื่อจะทำให้เกิดฟองอากาศน้อย ช่วยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด
- ชงนมมื้อละ 2-3 ออนซ์ ทุก 3-4 ชั่วโมง และปรับตามความต้องการของทารก
- นมที่ชงแล้วในอุณหภูมิปกติจะหมดอายุภายใน 3 – 4 ชั่วโมง
- นมผสมที่เหลือในแต่ละมื้อ ไม่ควรนำมาป้อนทารกอีก
วิธีป้อนนมผสม
- ก่อนให้นมลูกควรสะบัดนมให้หยดบนหลังมือ เมื่อรู้สึกอุ่นจึงจะป้อนนมให้ลูกได้
- ใช้นิ้วเขี่ยกระพุ้งแก้มเบาๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกดูดนม
- ขณะป้อนให้นมท่วมจุกนมเสมอ เพื่อป้องกันอาการท้องอืด
- กระตุ้นลูกดูดนม โดยหมุนขวดนมไปมาเบาๆ
- หลังป้อนนมผสม ให้ป้อนน้ำตามทุกครั้ง เพื่อป้องกันลิ้นเป็นฝ้า
- เมื่อป้อนนมเสร็จจับลูกให้เรอทุกครั้ง โดยอุ้มพาดบ่าและลูบหลัง
- ให้ลูกนอนหัวสูงประมาณ 45 องศา หลังให้นม เพื่อป้องกันการสำรอกและสำลักเข้าปอด
การทำความสะอาดขวดนม
- ล้างด้วยผลิตภัณฑ์ล้างขวดนมและล้างออกด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด
- ต้มขวดนมที่ล้างแล้ว นาน 15 – 20 นาที หลังน้ำเดือด
- กรณีนึ่งขวดนม ควรใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาที
ข้อแนะนำในการจัดเก็บนมแม่
- บีบนมทิ้ง 3 ครั้ง ก่อนบีบเก็บ และเก็บในภาชนะปลอดเชื้อ
- ติดป้ายที่ภาชนะ เขียนวันที่ เวลา และปริมาณที่เก็บ
- ควรใช้น้ำนมที่บีบเก็บครั้งแรกก่อนเสมอ
- วิธีเก็บ
- อุณหภูมิห้อง น้อยกว่า 25 องศา เก็บได้นาน 4 ชั่วโมง
- อุณหภูมิห้อง มากกว่า 25 องศา เก็บได้นาน 1 ชั่วโมง
- ชั้นแรกใต้ช่องแช่แข็งอุณหภูมิ 4 องศา เก็บได้ 5 วัน
- ช่องแช่แข็งตู้เย็น 1 ประตู อุณหภูมิไม่คงที่ เก็บได้ 2 สัปดาห์
- ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู อุณหภูมิ -14 องศา เก็บได้ 3 เดือน
- ช่องแช่แข็งตู้เย็นจัดพิเศษ อุณหภูมิ – 20 องศา เก็บได้นาน 6 เดือน
- การละลายนมแช่แข็ง ให้นำออกจากช่องแช่แข็งทิ้งไว้ในช่องธรรมดา 1 คืน เพื่อให้นมค่อยๆ ละลายจนหมด จากนั้นนำมาอุ่นโดยแกว่งภาชนะที่บรรจุนมในน้ำอุ่นจัดอย่างช้าๆ ไม่ควรอุ่นหรือละลายในไมโครเวฟ
- น้ำนมที่ละลายแล้วให้ใช้ภายใน 24 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แผนกทารกแรกเกิด
โทร. (034) 417-999 ต่อ 306 สายด่วน 1715