กระดูกสันหลังระดับคอของมนุษย์เราจะมีทั้งหมด 7 ชิ้น (C1-C7) โดยกระดูกระดับคอชิ้นแรก (C1) จะอยู่เชื่อมต่อกับกะโหลกศีรษะ แต่ละชิ้นก็จะมีหมอนรองกระดูกขั้นอยู่ กระดูกคอมีหน้าที่หลักๆ คือ ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวส่วนคอ และรับน้ำหนักศีรษะ
สำหรับ “โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกระดับคอมีการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งปกติ และทำให้เกิดการกดเบียดเส้นประสาท หมอนรองกระดูกคอมีโอกาสเสื่อมก่อนวัยได้ จากการใช้งานคอหนักๆ ทั้งการก้ม – เงยแบบสุดๆ หรือการโยกคอแรงๆ หรือการก้มหน้าใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกยุคปัจจุบัน ล้วนแต่เป็นการใช้งานหมอนรองกระดูกคออย่างหนักทั้งสิ้น
ลักษณะอาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทเป็นอย่างไร ?
- มีอาการปวดที่บริเวณต้นคอ ท้ายทอย
- ปวดร้าวลงบ่า ไหล่ สะบัก แขน และมือได้
- มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และอาการชา บริเวณไหล่ แขน และนิ้วมือ
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
- หมอนรองกระดูกคอเสื่อมตามวัย ทำให้โพรงเส้นประสาทตีบแคบลงและเกิดการกดเบียดเส้นประสาทได้ง่าย
- เกิดจากการกระแทกรุนแรง หรือเกิดจากอุบัติเหตุ
- เกิดจากการเดิน ยืน นั่ง ที่ผิดท่า หรือการเล่นกีฬาผิดท่า
- เกิดจากการนั่งทำงานหรือก้มหน้าเป็นเวลานาน ซึ่งการก้มศีรษะเป็นท่าที่ทำให้เกิดแรงกดไปยังหมอนรองกระดูกคอมากขึ้น ทำให้หมอนรองกระดูกคอต้องรับน้ำหนักมากขึ้นและเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น
แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาททำได้อย่างไรบ้าง ?
- การรับประทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ
- การทำกายภาพบำบัด
- รักษาด้วยวิธีของแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม
- การฉีดยาสเตียรอยด์
- การผ่าตัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเอกชัย โทร. 1715 หรือ 034-417-999 ต่อ 132 หรือ 133
แผนกแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลเอกชัย โทร. 1715 หรือ 034-417-999 ต่อ 201