ข้อสะโพกเสื่อมเป็นการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อสะโพก ทำให้เกิดการติดขัด และปวดขณะเคลื่อนไหวข้อสะโพก ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการทรงตัว การเดิน การขึ้นลงบันได
อาการของผู้ที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม
- มีอาการขัดอยู่ในข้อ เวลาขยับจะมีเสียงดังครืดคราด
- หลังตื่นนอนมักมีอาการข้อติด ขยับไม่ได้
- ขยับหรือกางขาได้น้อยลง
- มีอาการปวดเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องขยับสะโพก
- มักปวดบริเวณขาหนีบ ต้นขา หรือบริเวณสะโพก
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ข้อสะโพกเสื่อม
- พันธุกรรม ครอบครัวมีคนเป็นข้อสะโพกเสื่อม, สะโพกผิดปกติแต่กำเนิด
- เป็นโรคอ้วน
- อายุที่เพิ่มขึ้น ในผู้สงอายุจะมีความเสื่อมของข้อนสะโพกได้มากขึ้น ส่วนใหญ่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
- มีโรคประจำตัว เช่าโรครูมาตอยด์ จะทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณกระดูกหัวข้อสะโพก
- ได้รับยาบางชนิดมากไป เช่น สเตียรอยด์
- มีภาวะการติดเชื้อที่ข้อสะโพก
- ประสบอุบัติเหตุทำให้ข้อสะโพกหัก
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
การตรวจวินิจฉัย ข้อสะโพกเสื่อม
- การตรวจร่างกาย โดยแพทย์จะกดสะโพกเพื่อหาจุดเจ็บ ดูลักษณะการเดิน ดูการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก
- ส่งตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น การเอกซเรย์ การตรวจเอกวเรย์คอมพิวเตอร์(CT Scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI)
การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม
หากพบว่ารู้สึกติดขัดบริเวณข้อสะโพก เมื่อมีการเคลื่อนไหวควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาให้ดีขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ถ้ายังมีความเสื่อมของข้อสะโพกไม่มาก สามารถดูแลรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดได้ โดย
- ปรับการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทกข้อต่อสะโพก เช่น การขึ้นลงบันใด การนั่งพื้น การกระโดด การเล่นกีฬาประเภท แบดมินตัน บาสเกตบอล เปลี่ยนมาเป็น การปั่นจักรยาน การเดินในน้ำ เพื่อลดแรงกระแทกข้อต่อสะโพกแทน
- ทำกายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อน เย็น การรักษาด้วยเครื่องมือ Laser หรือ Shock wave ซึ่งสามารถลดอาการปวดและลดการอักเสบได้ดี ส่วนใหญ่ถ้าข้อสะโพกเสื่อมไม่มากอาการจะดีขึ้น
- ลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกระแทกบริเวณข้อต่อสะโพก
- รับประทานยาลดอาการปวด และลดการอักเสบ หากไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้การรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์
การป้องกันโรคข้อสะโพกเสื่อม
เราไม่สามารถหยุดความเสื่อมของข้อสะโพกได้ แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมได้ โดยการดูแลสุขภาพดังนี้
- ออกกำลังกายที่ลดแรงกระแทกต่อข้อสะโพก เช่น การว่ายน้ำ การเดินในน้ำ การปั่นจักรยาน
- ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
- งดดื่มแอลกอฮอลล์ เพราะแอลกอฮอล์ เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวข้อต่อสะโพก ทำให้กระดูกอักเสบ ขรุขระ และเกิดการยุบหรือตายในที่สุด
การชะลอความเสื่อมของข้อสะโพก เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่หากท่านมีอาการที่สงสัยว่าจะมีความเสื่อมของข้อสะโพก แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ
นายแพทย์ประพันธ์ ทานานนท์ ความชำนาญพิเศษ : ศัลยกรรมกระดูก เฉพาะทาง : เปลี่ยนสะโพกและข้อเข่าเทียม
โรงพยาบาลเอกชัย โทร. 1715 หรือ 034-417-999 ต่อ 132, 133