หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้โดยที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอและไม่ได้มีการคุมกำเนิดในระยะเวลา 1 ปี หรือ 6 เดือน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะมีบุตรยากนั้น ส่วนมากมักเกิดได้จากความผิดปกติของฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย หรือทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
ภาวะมีบุตรยากแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ คือ คู่สมรสที่ยังไม่เคยมีการตั้งครรภ์มาก่อน
- ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ คือ คู่สมรสที่เคยมีการตั้งครรภ์มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่กลับไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากของเพศหญิงตามหลักของแพทย์แผนจีนมีอะไรบ้าง ?
- ไตพร่อง ตามหลักของแพทย์แผนจีน ไตเป็นที่กักเก็บสารจิง เป็นสารสำคัญในไตซึ่งจะควบคุมการเจริญเติบโตของมนุษย์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการและการสืบพันธุ์ของมนุษย์ โดยกลุ่มสาเหตุจากไตพร่องยังสามารถจำแนกได้อีก 3 ประเภท ได้แก่
- ชี่ไตพร่อง มักพบอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เวียนศีรษะ มีเสียงในหู เมื่อยเอวเข่าอ่อน ปัสสาวะบ่อย
- หยางไตพร่อง มักพบอาการรอบเดือนมาช้าหรือหลังกำหนด ปริมาณน้อยสีซีด ประจำเดือนไม่มา สีหน้าหมองคล้ำ เมื่อยเอวเข่าอ่อน
- อินไตพร่อง มักพบอาการรอบเดือนมาก่อนกำหนด ปริมาณน้อย หรือช่องคลอดแห้ง เวียนศีรษะ มีเสียงในหู เมื่อยเอวเข่าอ่อน เวียนศีรษะ มีเสียงในหู นอนไม่หลับ ฝันเยอะ
- ชี่ตับติดขัด มักพบอาการรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ปริมาณบางครั้งมากและบางครั้งน้อย สีคล้ำ มีลิ่มเลือด คัดตึงเต้านม ปวดท้องประจำเดือน หงุดหงิดขี้โมโห
- เสมหะความชื้นอุดตันในร่างกาย ส่วนมากจะพบในผู้ที่มีรูปร่างอ้วน หรือผู้ที่ชอบรับประทานของหวาน ของมัน ของทอด มากเกินไป จึงทำให้เกินเสมหะชื้นสะสมในร่างกายได้ง่าย มักพบอาการรอบเดือนมาช้า หรือไม่มา ตกขาวเยอะ สีขาว เหนียว อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ
- เลือดคั่ง มักพบอาการรอบเดือนมาช้าหรือหลังกำหนด ปริมาณบางครั้งมากและบางครั้งน้อย สีคล้ำ มีลิ่มเลือด หรือมีอาการปวดท้องประจำเดือน
แพทย์แผนจีนช่วยเรื่องภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร ?
หากพูดถึงการรักษาภาวะมีบุตรยากของเพศหญิงทางแพทย์แผนจีนแล้วนั้น มีส่วนที่สามารถช่วยให้เกิดการตกไข่ ปรับสมดุลฮอร์โมน ปรับระบบการไหลเวียนเลือด เพื่อการบำรุงเลี้ยงตัวอ่อนที่จะมาฝังตัวที่มดลูกให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติได้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการช่วยแก้ไขความผิดปกติทางโครงสร้างที่จะนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่สามารถช่วยได้ เช่น ภาวะเนื้องอกในมดลูก เป็นต้น
แม้กระทั่งการผสมผสานจุดเด่นของเทคนิคทางแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น เนื่องจากแพทย์แผนจีนจะเน้นให้ความสำคัญกับร่างกายและการเตรียมร่างกาย เช่น
- ก่อนทำ IVF ควรที่จะบำรุงไต ปรับสมดุลชี่ตับ บำรุงเลือด เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี เตรียมร่างกายให้พร้อม
- ช่วงไข่ตก ต้องปรับสมดุลเส้นลมปราณชงเริ่น ปรับการทำงานของรังไข่ เพื่อจะทำให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพ และมดลูกอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่ตัวอ่อนจะฝังตัวได้ดี
- ก่อนการใส่ตัวอ่อน ควรปรับสมดุลตับและไต ปรับการไหลเวียนเลือด เตรียมผนังมดลูกให้แข็งแรง ทำให้ร่างกายและมดลูกทำหน้าที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน
- หลังการใส่ตัวอ่อน ควรที่จะต้องบำรุงลี้ยง อบอุ่นเลือด บำรุงม้ามและไต เพื่อช่วยในการฝังตัวอ่อนและการพัฒนาการของตัวอ่อน และป้องกันการแท้งบุตร
แนวทางการใช้การรักษาทางแพทย์แผนจีน
การรักษาภาวะมีบุตรยากของแพทย์แผนจีนนั้น แพทย์มักจะใช้วิธีการรักษาทั้งเพศหญิงและเพศชายไปพร้อมๆกัน โดยใช้วิธีการฝังเข็ม รมยา ร่วมกับยาสมุนไพรจีน
บทความโดย แพทย์จีนจุฑารัตน์ บุญสุธารมณ์ แพทย์แผนจีนประจำโรงพยาบาลเอกชัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ แผนกแพทย์แผนจีน รพ.เอกชัย
โทร.034-417999 หรือ 1715 ต่อ 201