โรคข้อเข่าเสื่อม คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ และจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูปไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

โรคข้อเข่าเสื่อมนี้เกิดจากการเสื่อมตามอายุขัยส่วนใหญ่ เกิดกับข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อกระดูกสันหลัง ปัญหาปวดเข่าพบได้มากในผู้สูงอายุหญิงมากกว่าชาย เนื่องจากขนบธรรมเนียมไทยที่ต้องนั่งคุกเข่าพับเพียบ ขัดสมาธิ ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้ข้อเข่าถูกกดพับ และเอ็นกล้ามเนื้อถูกยึดมาก การนั่งเช่นนั้นนานๆ ทำให้การหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงเข่าไม่ได้ดี และเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อีกทั้งต้องทำงานหนักไม่มีการพัก ประกอบกับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เข่าต้องแบกน้ำหนักส่วนเกินนั้น กล้ามเนื้อจึงหย่อนสมรรถภาพลง จึงทำให้เป็นโรคเข่าเสื่อมได้ง่าย

สาเหตุหลักๆ ได้แก่

  • เป็นผลจากความเสื่อม และการใช้เข่าที่ไม่ถูกต้องมานาน
  • ความอ้วน น้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น กระดูกบริเวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด
  • โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น

ข้อเข่าเสื่อม

อาการเริ่มแรกที่เตือนให้รู้ว่าเข่ากำลังมีปัญหา

เจ็บปวด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นปวดแบบเมื่อยๆ พอทน ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือในรายที่เข่าได้รับบาดเจ็บ จะปวดแบบเฉียบพลันและปวดรุนแรง

เข่าบวม

เข่าที่บวมทันทีภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ มักเกิดจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า บวมที่เกิดขึ้นช้าๆ มักเกิดจากมีความผิดปกติขององค์ประกอบภายในข้อเอง

เข่าอ่อนหรือเข่าสะดุดติด

อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากมีบางสิ่งบางอย่างภายในข้อ ทำให้งอ หรือเหยียดเข่าในทันทีทันใดไม่ได้ เช่น เส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนที่ฉีกขาด หรือเศษกระดูกที่หยุดอยู่ในข้อ
เข่าฝืดหรือยึดติด อาจเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน นั่งนานๆ แล้วลุกขึ้น หรือเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า

เมื่อปรากฎอาการดังกล่าวแล้วแสดงว่า ท่านเริ่มมีปัญหาของข้อเข่า ควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง และพิจารณาดูว่า มีอะไรเป็นสาเหตุดังกล่าว จะเป็นต้องเริ่มต้นฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อของข้อเข่าให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะให้หลักประกันได้ว่า ท่านจะสามารถยืนและเดินอยู่บนขา และเข่าของตนเองได้ตลอดไป

วิธีป้องกันและการปฏิบัติ

  • ควบคุมไม่ให้อ้วนเกินไป โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
  • บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นให้แข็งแรง (วิธีการบริหารดูในการออกกำลังกาย)
  • ลดการใช้งานข้อนั้นในท่าที่ผิดจากธรรมชาติ เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ คุกเข่าและการนั่งขัดสมาธินานเกินไป เป็นต้น
  • ขณะที่มีอาการปวด ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาภาวะอักเสบของข้อ แล้วเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • อาการปวดเริ่มแรกสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอล, การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบจะช่วยลดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขณะที่มีอาการปวดอยู่ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินมาก ถ้าเดินควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดินและใส่สนับเข่าเพื่อช่วยให้ข้อเข่ากระชับ
  • ควรหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น เช่น การนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิและนั่งยองๆ ควรนั่งเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งเหยียดขาตรง อย่านั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอริยาบถบ่อยๆ และควรใช้โถส้วมแบบนั่งแทนแบบนั่งยองๆ
  • ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกดกระแทกที่ข้อเข่าเวลาเดินหรือยืน
  • บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าอย่างสม่ำเสมอ
  • ถ้าอาการไม่ทุเลาควรปรึกษาแพทย์

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบในผู้ป่วยสูงอายุ แต่ผู้ป่วยที่มีโรคข้อเรื้อรังเช่นโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ก็อาจจะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในขณะที่อายุยังไม่มาก โดยเฉพาะคุณผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจาก ความ แข็ง แรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย อาการที่สำคัญได้แก่ อาการปวดเข่า เป็นอาการ ที่สำคัญเริ่มแรกจะ ปวดเมื่อยตึงทั้ง ด้าน หน้าและด้านหลังของเข่าหรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันได ไม่คล่อง เหมือนเดิม

  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
  • อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

  • อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
  • เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
  • น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
  • การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  • การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้ความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
  • ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า

แพทย์จะวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร

หากท่านมีอาการปวดเข่าเรื้องรังเมื่อไปพบแพทย์หากสงสัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแพทย์ก็จะมีขั้นตอนการวินิจฉัยดังนี้

  • ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเน้นทีการตรวจข้อเข่าซึ่งอาจจะพบลักษณะที่สำคัญคือ ข้อบวม หรือขนาดข้อใหญ่และมีการงอของข้อเข่า
  • การถ่ายภาพรังสี ก็จะพบว่าช่องว่างระหว่างกระดูกเข่าแคบลงซึ่งหมายถึงกระดูกอ่อนมีการสึกหรอ หากสึกมากก็ไม่พบช่องว่างดังกล่าว
  • การเจาะเลือด การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคปวดเข่าเรื้อรังเช่น โรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์
  • การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงเข่า ในกรณีที่เข่าบวมแพทย์จะเยาะเอาน้ำหล่อเลี้ยงเข่าออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์
  • การตรวจความหนาแน่นของกระดูก เป็นการตรวจหาโรคกระดูกพรุน
  • การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคของผู้สูงอายุ

หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมดังนั้นการรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีจุด ประสงค์เพื่อ บรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อโกงงอ เป็นต้น การรักษาแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี 1. การรักษาทั่วไป 2. การรักษาโดยการใช้ยา 3. การรักษาโดยการผ่าตัด

วิธีการรักษา

  1. การรักษาทั่วไป
  2. การรักษาโดยการใช้ยา
  3. การรักษาโดยการผ่าตัด

วิธีการรักษาด้วยตนเอง

  1. ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมเช่น การยกของหนัก การนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การ ใช ้ ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำเพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับเข่า หลีกเลี่ยง การขึ้นบันได บ่อยๆ ควรจะนั่งบนเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
  2. การลดน้ำหนักซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่จะลดอาการปวดและช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้
  3. การออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให ้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยลดแรง ที่ กระทำต่อเข่า วิธีการบริหารสามารถทำได้โดย นั่งบนเก้าอี้เหยียดขาเกร็งไว้ 10 วินาที่แล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายครั้ง นอกจากนั้นการเดินเร็ว หรือการว่ายน้ำ จะช่วยกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรง
  4. เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะมีพื้นกันกระแทก
  5. เวลาขึ้นบันไดให้ก้าวข้างดีขึ้นก่อน เวลาลงให้ก้าวข้างปวดลงก่อน มือจับราวบันได
  6. ประคบอุ่นเวลาปวดเข่า
  7. การทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าเพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิด รูปรวม ทั้งทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี

การรักษาโดยการใช้ยา

หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้

  1. ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol
  2. ยาแก้อักเสบ steroid เมื่อสมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความ นิยม ลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  3. ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
  4. ยาบำรุงกระดุกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
  5. การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้ มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ได้ผลชั่วคราว

การผ่าตัด

ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากได้ผลดีและโรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดมีได้หลายวิธีดังนี้

  1. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรก ที่เกิดจาก การ สึก ออกมา
  2. การผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแนวแรงที่ลงข้อเข่าให้ดีขึ้น ข้อเข่ากระดูกอ่อนจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร จึงจะใช้วิธีนี้ได้
  3. การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ ชีวิตได้ดีขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อยนี้เป็นวิธีผ่าตัดล่าสุดในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งต่างจากการผ่าตัดวิธีดั้งเดิม คือแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กลง จากเดิมแพทย์ต้องเปิดปากแผลยาวประมาณ 8-10 นิ้ว แต่วิธีใหม่จะทำให้แผลผ่าตัดยาวเพียง 4-6 นิ้ว ซึ่งกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อเช่าจะบอบซ้ำน้อยเพราะเลี่ยงการผ่าผ่านกล้ามเนื้อและผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแผลจากการผ่าตัดน้อยลง ซึ่งจะเสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยด้วย รวมทั้งแผลเป็นก็จะมีขนาดเล็ก ส่งผล ให้ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นลง และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น

ส่วนเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์นำร่องช่วยผ่าตัดชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งซึ่งช่วยให้แพทย์ตรวจสอบจุดอ้างอิงของกระดูกในข้อตามกายวิภาค ก่อนที่จะตัดหรือเจียรกระดูกเพื่อให้ได้ขนาดมุมตัดและความหนาของชิ้นกระดูกที่เสื่อมออกอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนผ่านบริเวณผิวหน้าของข้อเพียงชั่วครู่ ก็สามารถส่งข้อมูลรูปร่างของกระดูกเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย แล้วสร้างข้อจำลองของผู้ป่วยขึ้นมาได้ทันทีแพทย์สามารถฝังหมุดส่งสัญญาณที่มีขนาดเล็กลงไปในกระดูก แทนการฝังเสาส่งสัญญาณขนาดใหญ่แบบเดิม เพื่อช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิผลที่ดีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด โดยการผ่าตัดชนิดนี้เรียกว่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมวิธีเนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อยโดยใช้คอมพิวเตอร์นำร่องชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โทร.034-417-999 หรือ สายด่วน 1715 ต่อ 132, 133