“มีบุตรยาก ไม่ใช่เรื่องยาก” อีกต่อไป !! คุณผู้หญิงหลายๆ ท่านที่ต้องการมีบุตรแต่มีปัญหาเนื่องจากเป็นโรคต่างๆ ที่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด ภาวะมีบุตรยาก นั้น ปัญหาที่เกิดในเพศหญิงถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากถึง ร้อยละ 70 เลยทีเดียว แต่อีกส่วนหนึ่งจะเป็นสาเหตุมาจากเพศชาย การตรวจหาความผิดปกติในเพศชายนั้น สะดวกกว่าเพศหญิง เพียงการตรวจพิเคราะห์น้ำอสุจิก็จะทราบได้ว่าเชื้อแข็งแรงพร้อมหรือ ไม่ สำหรับในเพศหญิงสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากเกิด จากปัจจัยของท่อนำไข่ผิดปกติตีบตัน คดงอ รองลงมาเกิดจากปัจจัยภายนอกของโพรงมดลูก เช่น อาจจะมีเนื้องอกหรือความสมบูรณ์ไม่พอเพียงของเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก และปัจจัยจากรังไข่ซึ่งเป็นแหล่งสร้างไข่เพื่อมาปฏิสนธิกับตัวอสุจิ การวิเคราะห์หาสาเหตุของการก่อให้เกิดมีบุตรยาก เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการวางแผนการแก้ไขรักษาได้ถูกต้องต่อไป
การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
เป็นการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เด็กหลอดแก้ว” เป็นการนำไข่และเชื้อ อสุจิมาผสมรวมกันในหลอดแก้วทดลองให้มีการรวมตัวกัน (การปฏิสนธิ) ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจำลอง สภาพแวดล้อม และอุณหภูมิ ที่คล้ายร่างกายมนุษย์ ภายหลังจากการเกิดการปฏิสนธิแล้ว ไข่ที่ถูกผสม จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตได้ 3-5 วัน จากนั้นจะทำการย้าย ตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกของผู้หญิง
เราจะเลือกวิธีนี้เมื่อไร
การเลือกการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว จะพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสได้แก่
- ระบบท่อนำไข่ เช่น มีการอุดตัน หรือเคยรับการผ่าตัด
- เชื้ออสุจิผิดปกติ เช่น จำนวนน้อย รูปร่างผิดปกติ การเคลื่อนไหวน้อย
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ระบบฮอร์โมนรังไข่ เช่น ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- การทำผสมเทียมไม่สำเร็จ
- ความจำเป็นในการรักษาโดยใช้ไข่หรือตัวอ่อนบริจาค
- การรักษาโรคทางพันธุกรรมโดยการทำ EMBRYO BIOPSY
- ภาวะที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก
ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว
- การกระตุ้นรังไข่ เพื่อให้มีการตกไข่ ซึ่งแพทย์จะให้ยาตามความเหมาะสมของแต่ละคน
- การติดตามการเจริญเติบโตของถุงไข่ โดยการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด และเจาะเลือดดูระดับฮอร์โมน
- การฉีดยาให้ไข่สุกพร้อมสำหรับการเก็บ
- การเก็บไข่ ทำการเก็บไข่ประมาณ 34-36 ชั่วโมง หลังฉีดยาให้ไข่สุกพร้อมเก็บการเตรียมอสุจิ นำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทำการคัดแยกอสุจิที่แข็งแรง
- การปฏิสนธินอกร่างกาย นำไข่และอสุจิผสมรวมกันในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน
- นำตัวอ่อนที่สมบูรณ์ย้ายเข้าโพรงมดลูก ด้วยวิธีการคล้ายกับการตรวจภายในตามปกติ
- ทดสอบการตั้งครรภ์โดยตรวจวัดระดับฮอร์โมนในเลือดประมาณ 12-14 วันหลังจากการใส่ตัวอ่อน
บริการของศูนย์
- IVF (เด็กหลอดแก้ว) คือ การนำไข่มาผสมกับเชื้ออสุจิภายนอกร่างกาย โดยผสมไข่กับอสุจิที่ผ่านขั้นตอนการเตรียมน้ำอสุจิแล้ว
- ICSI (อิ๊กซี่) คือ การใช้เข็มฉีดเชื้ออสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในไข่เพื่อช่วยปฏิสนธิ ให้เกิดเป็นตัวอ่อนเมื่อได้ตัวอ่อนแล้วจึงย้ายฝากเข้าสู่โพรงมดลูก
- PESA (พีซ่า) คือ การดูดตัวอสุจิออกมาจากบริเวณถุงพักน้ำเชื้อ เพื่อนำมาผสมกับไข่ให้เป็นตัวอ่อนด้วยวิธีการทำอิ๊กซี่ ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่มีอสุจิ
- TESE (เทเซ่) คือ การตัดชิ้นเนื้อเล็กๆจากอัณฑะมาหาตัวอสุจิ เพื่อนำมาผสมไข่ให้เป็นตัวอ่อนด้วยวิธีการทำอิ๊กซี่ ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่มีอสุจิ
- PGD คือ เทคนิคการตรวจวินิจฉัยตัวอ่อน เพื่อดูจำนวนโครโมโซม หรือ สารพันธุกรรมที่ผิดปกติ เพื่อการคัดเลือกตัวอ่อนที่ปรากจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สำหรับการตั้งครรภ์
- Embryo transfer (ET) การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก
- Embryo Freezing การแช่แข็งตัวอ่อน เพื่อเก็บไว้ในอนาคต
- Sperm Freezing การแช่แข็งอสุจิ เพื่อเก็บไว้ในอนาคต
- Oocyte Freezing การเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีการแช่แข็ง หรือการแช่แข็งไข่ เพื่อเก็บไว้ในอนาคต
MINC Mini-incubators
คือ ตู้อบขนาดเล็กสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน ที่มีการควบคุมอุณหภูมิปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกดไซด์ให้พอเหมาะกับการเติบโตของตัวอ่อน โดยเลียนแบบสภาวะตามธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมของตัวอ่อนในโพรงมดลูก
Culture Medium
ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในของเหลวที่เรียกว่า Culture Medium คุณภาพของ Culture Medium นี้สำคัญต่อระบวนการเด็กหลอดแก้วอย่างมาก นี่คือเหตุผลที่เราใช้ Culture Medium
Blastocyst Culture and Implantation
เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายฝากตัวอ่อนในระบบบลาสโตซิตส์ชั้นนำของโลกอัน เป็นเทคนิคซึ่งเอื้อให้ตัวอ่อนเติบโตถึงระยะบลาสโตซิตส์ก่อนจะโอนถ่ายกลับ เข้าตัวมารดา ซึ่งทำให้เรามีโอกาสได้ตรวจสอบศักยภาพของตัวอ่อนที่มีการพัฒนาอย่างดีที่สุด เพื่อย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งวิธีนี้ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์จากเด็กหลอดแก้ว การย้ายฝากตัวอ่อนในระยะนี้
Blastocyst Biopsy
เราใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะบลาโตซิตส์ ก่อนทำการแบ่งเซลล์ไปเพื่อศึกษาพันธุกรรม และสามารถทราบผลภายในวันเดียวกัน เราสามารถตรวจสอบพันธุกรรมในตัวอ่อน เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ปลอดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เพื่อการตั้งครรภ์
Per-Implantation Genetic Diagnosis (PGD)
คือกระบวนการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนย้ายกลับ โดยการดึงเซลล์จากตัวอ่อน 3-5 เซลล์ ไปทำการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ จากเซลล์น้อยๆ สามารถแยกตัวอ่อนที่มีภาวะดาวซินโดรม, เบต้า-ธาลัสซีเมีย.ชีสติกไฟโบรซิส, อันติงตันส์ ดิชีส และโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ อีกหลายโรค ทำให้สามารถตัดปัจจัยอันเป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ได้
Frozen embryo storage
เราสามารถแช่แข็งตัวอ่อนจากกระบวนการเด็กหลอดแก้วครั้ง แรกเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการย้ายฝากในรอบถัดไป โดยผู้ป่วยไม่ต้องรับการกระตุ้นไข่อีก การแช่แข็งตัวอ่อนไม่สามารถทำได้เสมอไป ขึ้นอยู่กับคุณภาพตัวอ่อนก่อนการพิจารณาแช่แข็ง
ผู้ที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
- คู่สมรสที่มีปัญหาในการตั้งครรภ์
- คู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคหรือเป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรม
- คู่สมรสที่จำเป็นต้องคัดเลือกเพศบุตร เนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์
- คู่สมรสที่ประสบปัญหาภาวะแห้งเป็นอาจิณ
- คู่สมรสที่อายุมากและมีบุตรยาก
- คนโสดที่มีความต้องการในการเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่ หรืออสุจิ) ไว้เพื่อใช้ในอนาคต
สามารถชมวิดีโอของศูนย์ผู้มีบุตรยากได้ตามรายการ
- การทำเด็กหลอดแก้วและรักษาภาวะการมีบุตรยาก IVF https://youtu.be/Ru6LvNNpTIA
- ศูนย์การให้คำปรึกษาสำหรับผู้มีบุตรยาก (EKI-IVF Fertility & Genetic Center) https://youtu.be/COX6Pl5233k
- IUI…สเต็ปแรกสำหรับผู้มีบุตรยาก https://youtu.be/fBW4iYCV5jc
- IVF & ICSI ทางออกสุดท้ายของผู้มีบุตรยาก https://youtu.be/OXNNb54CPsM
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ผู้มีบุตรยาก ชั้น 2 โทร. 034-417-999 ต่อ 221, 222, 158 หรือสายด่วน 1715