สำหรับเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ การเรียนรู้ ผู้พิการ ผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ การส่งเสริมให้ผู้มีปัญหาดังกล่าว ได้กลับมาช่วยเหลือตัวเอง และทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ต้องบำบัดโดย ผู้ประกอบวิชาชีพกิจกรรมบำบัด อาการที่ควรได้รับคำแนะนำ และรับการฝึกจากนักกิจกรรมบำบัด อาทิเช่น
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)
ภาวะกลืนลำบาก เป็นภาวะที่ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติในการกลืน ทำให้รู้สึกยากลำบากในการกลืนอาหาร หรือของเหลวบางชนิด และอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ไอ(Cough) สำลัก (Choking) หรือรู้สึกอาหารติดค้างอยู่ในลำคอ แน่นหน้าอก ส่งผลให้ความสามารถในการรับประทานอาหารลดลง สารอาหารที่นำไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะสำลักอาหารลงปอด จนเกิดการติดเชื้อ (Aspiration Pneumonia) จนอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต บางรายอาจส่งผลกระทบถึงสภาพจิตใจ คุณภาพชิวิตลดลง ไม่มีความสุขโดยภาวะกลืนมักจะเกิดในผู้ป่วยประเภทต่างๆ เช่น ผู้ที่มีความบกพร่องทางระบบประสาท ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยพาร์กินสัน หรือผู้สูงอายุ เป็นต้น
การบริหารกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เป็นหนึ่งในวิธีช่วยบำบัดฟื้นฟูในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอ่อนแรง ภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัด โดยนักกิจกรรมบำบัดจะประเมินปัญหา และความสามารถกลืนของผู้ป่วย เพื่อวางแผนโปรแกรมการฟื้นฟูการกลืนทั้งทางตรง (Direct Therapy) และทางอ้อม (Indirect Therapy) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมารับประทานอาหารได้อย่างอิสระ มีความสุขในการรับประทานอาหาร และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การฟื้นฟูด้านการรับรู้ และความคิดความเข้าใจ (Perception and Cognition)
ภาวะสมองเสื่อม เป็นความผิดปกติจากการทำงานของสมองที่ลดลง ทำให้การรับรู้ ความคิด ความเข้าใจ ทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการตัดสินใจลดลง มักพบได้มากในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาทางระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้บาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุเป็นต้น จากที่เคยเรียนรู้ จดจำได้ กลายเป็นจำไม่ได้ ทำไม่เป็น ลืมวันเดือนปี หรือลืมหน้าลูกหลานของตนเอง การรับรู้ ความคิดความเข้าใจ (Perception and Cognition) มีความสำคัญต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือแม้แต่การทำงานบ้าน อีกทั้งยังเป็นส่วนช่วยให้มนุษย์พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ การจดจำ และการดึงข้อมูลมาใช้เพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น (AOTA, 2006).
บทบาทหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดอย่างหนึ่ง คือ การให้การส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟู ในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยมุ้งเน้นฝึกให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมที่มีความหมายได้ด้วยตนเอง เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน การทำงานอดิเรก การเข้าร่วมกลุ่มชมรม โดยไม่รู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับครอบครัวและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแล ถึงวิธีการดูแล การปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมได้เป็นผลสำเร็จ
การฝึกทักษะการใช้แขน และมือทำกิจกรรม (Hand Function Training)
แขนและมือเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ที่มีความสำคัญช่วยให้เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆ อาการบาดเจ็บที่บริเวณข้อมือ หรือนิ้วมือต่างๆ มักมีสาเหตุมาจากกิจกรรมที่เราทำ เช่น การเล่นกีฬา การทำงาน หรือการทำอาหาร หรือเกิดจากโรคทางร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ที่ทำให้แขนอ่อนแรง หรือเกร็งงอจนไม่สามารถทำกิจกรรมได้ การได้รับอุบัติเหตุ เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และการผ่าตัดบริเวณข้อมือ โดยมีอาการแสดง เช่น เจ็บ ปวด ชา บวม รู้สึกเหมือนโดนหนามแหลมแทง ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้
นักกิจกรรมบำบัดจะใช้องค์ความรู้ทางกิจกรรมบำบัด มาออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ใช่เพียงดูแค่ช่วงการเคลื่อนไหว แต่ยังประเมินถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
Occupational therapists working in the field of hand therapy tend to follow a reductionist biomedical approach in their practice. This emphasis means that there is the potential to lose the occupational focus in interventions with this client group. The International Classification of Functioning, Disability and Health (World Health Organisation 2001) could be used as a framework to examine the consequences of hand injuries. By taking all four conceptual domains into account when treating this client group, it may be possible not only to examine, for example, range of movement and tendon glide but also to start looking at the occupational impact on people’s activity performance and social participation following hand impairment, as well as to explore the variations of the occupational impact that these injuries have on people’s lives
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กายภาพบำบัด โทร 034-417999 หรือ 1715 ต่อ 424 และ 425