คือ กลุ่มอาการผิดปกติของระบบประสาท ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการสูญเสียทักษะในการเคลื่อนไหว ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง (Aphasia slowness) อาการที่เกิดขึ้นของโรคพาร์กินสันเทียมจะคล้ายๆ โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่โรคพาร์กินสัน สำหรับโรคพาร์กินสันนั้น จะเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทในสมอง แต่ส่วนโรคพาร์กินสันเทียม จะเป็นอาการที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ
สาเหตุของโรคพาร์กินสันเทียมมีอะไรบ้าง ?
เกิดจากยาหรือยาสารเสพติดบางชนิด
การใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานานและการใช้ยาผิดวิธี เป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสันเทียมได้ โดยยาที่พบบ่อย ได้แก่ ยาแก้วิงเวียนศีรษะบางชนิด ยาลดอาการวิตกกังวล ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาลดความดันกลุ่มต้านแคลเซียมในบางชนิด และยาสารกระตุ้นในกลุ่มแอมเฟตามีนและโคเคน เป็นต้น ซึ่งยาดังกล่าวจะมีฤทธิ์ในการลดการหลั่งของสารโดพามีน (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง
มีโรคหรือพยาธิสภาพที่สมองบางอย่าง ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับสมองอาจเป็นสาเหตุของอาการพาร์กินสันเทียมได้ เช่น
- ภาวะก้านสมองเสื่อม ภาวะนี้จะเป็นการเสื่อมของสมองที่จะกระทบเซลล์สมองในส่วนตำแหน่งที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- โรคประสาทเสื่อมหลายที่ เป็นกลุ่มอาการผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกายในหลายจุด โดยเฉพาะในส่วนระบบประสาทอัตโนมัติที่มักจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในระยะแรกของการเกิดโรค
- โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้ระบบประสาทในบางตำแหน่งสูญเสียการทำงานไปด้วย และมักส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาการเดินมากกว่าอาการสั่นของร่างกาย
- ภาวะฐานของเปลือกสมองเสื่อม เป็นความผิดปกติที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ผู้ป่วยจะสูญเสียการทำงานที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย มักจะมีปัญหาเรื่องการขยับตัว ร่วมกับมีอาการกระตุกที่แขนและขา มีอาการแขน-ขาอ่อนแรง สูญเสียความสามารถในการพูด และอาจมีการสูญเสียประสาทสัมผัสไปด้วย
อาการของโรคพาร์กินสันเทียมเป็นอย่างไร ?
- มีอาการสั่นขณะเคลื่อนไหว มักเกิดที่มือมากกว่าขา หรืออาจมีการกระตุกของกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถควบคุมได้ และมีทิศทางไม่แน่นอน
- การเคลื่อนไหวช้าลง เป็นอาการสำคัญทั้งในโรคพาร์กินสันและพาร์กินสันเทียม
- มีภาวะกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง กล้ามเนื้อมีแรงตึงตัวมากขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง
- เสียการทรงตัว มีปัญหาในการยืนและการเดิน ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกก้าวขาไม่ออก การเดินช้าลง ยกเท้าออกจากพื้นลำบาก
- มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหว การที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวอาจทำให้กิจวัตรประจำวันเป็นไปอย่างลำบาก เช่น การแต่งตัว การรับประทานอาหาร หรือการทำกิจกรรมทั่วไป
- การแสดงสีหน้า หรือการแสดงอารมณ์ความรู้สึกทางใบหน้าลดลง
- มีภาวะกลืนลำบาก และสำลัก
- มีภาวะน้ำลายไหลยืด
- มีปัญหาในการควบคุมความดันโลหิตเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง
- อาจมีปัญหาในเรื่องการนอน เช่น มีอาการนอนไม่หลับ อาการฝันรุนแรง เป็นต้น
- มีอาการท้องผูก มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- อาจมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะซึมเศร้า ภาวะวิกลจริต และอาการประสาทหลอนได้
วิธีการบำบัดรักษาและฟื้นฟูโรคพาร์กินสันเทียมทำได้อย่างไรบ้าง ?
- หยุดการใช้ยาหรือสารเสพติด หากอาการของพาร์กินสันเทียมเกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้ยาหรือสารเสพติดที่มีผลข้างเคียงที่เหมือนกับโรคพาร์กินสัน การหยุดใช้ยาหรือสารเสพติดอาจจะทำให้อาการดีขึ้นได้
- รักษาตามอาการ อาการพาร์กินสันเทียมอาจต้องรับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ รวมถึงการรับประทานยาต้านจุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการพาร์กินสัน เช่น ยาลดอาการสั่น (Anti tremor medications) หรือยาเสริมโดพามีน (Dopamine replacement therapy) ซึ่งเป็นกลุ่มยามีการใช้เป็นที่ส่วนใหญ่ในการรักษาโรคพาร์กินสัน
- การกายภาพบำบัด อาจช่วยเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวและการควบคุมร่างกาย เช่น การฝึกการเดิน การฝึกการทรงตัว และการบำบัดทางอาหาร
- การรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยวิธีการฝังเข็ม สามารถเป็นตัวช่วยเสริมอีกหนึ่งทางเลือกในการบำบัดฟื้นฟูอาการจากพาร์กินสันเทียม เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ :
ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลเอกชัย โทร.034-417999 หรือ 1715 ต่อ 110, 111
ศูนย์กายภาพบำบัด โรงพยาบาลเอกชัย โทร.034-417999 หรือ 1715 ต่อ 424, 425
แผนกแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลเอกชัย โทร.034-417999 หรือ 1715 ต่อ 201