ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ส่วนบน จนถึงส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหลอดลมฟอยอักเสบ และอาจทำให้ปอดอัดเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น
- เด็กที่มีโรคประจำตัวคลอดก่อนกำหนด
- มีโรคปอดเรื้อรัง
- โรคทางระบบประสาท
- โรคที่ทำให้เด็กขับเสมหะได้ไม่ดี
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- โรคหัวใจเรื้อรัง
เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเพราะกลไกในการไอและขับเสมหะของร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อเด็กๆ ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้รับเชื้อ RSV จะมีแนวโน้มเป็นโรคหอบหืดได้ในอนาคต
โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพ่อแม่เป็นโรคหอบหืด หรือเด็กมีภาวะเกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด เช่น แพ้อาหาร แพ้นม มีผื่นภูมิแพ้ โดยจะมีความเสี่ยงเป็นโรคหอบหืดได้ตั้งแต่ 5 – 13 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสียง
มาทำความรู้จัก RSV (Respiratory Syncytial Virus)
เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ทางเดินหายใจอักเสบในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ แต่อาการจะเป็นมากในช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อย มีการระบาดบ่อยในทุกฤดู โดยเฉพาะช่วงอากาศเย็นหรือหนาว โดยผู้ป่วยจะติดเชื้อ RSV จากการรับเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม น้ำมูก สารคัดหลั่ง จากคนสู่คนโดยการสัมผัส หรือละอองน้ำมูกของผู้ป่วยคนอื่น และมีระยะฟักตัวประมาณ 2-7 วัน เฉลี่ย 4 วัน และอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบ และหอบหืดได้
อาการเริ่มต้นจะมีน้ำมูกใส ต่อมามีอาการไอ จาม ไข้ต่ำๆ ไข้อาจจะมีหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับภูมิต้านทานแต่ละคน ถ้าเป็นในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กจะมีอาการปอดบวม ไอ หอบได้ง่าย เด็กจะมีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย บางครั้งเป็นมากจะหายใจดัง “วี้ด” ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการหายใจล้มเหลวได้ เช่น หน้าอกบุ๋ม กระสับกระส่าย ซึม กินไม่ได้ โดยผู้ป่วยแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-8 วัน ส่วนมาก 3-4 วันแรก โดยผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก/ น้ำลาย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็น RSV แล้ว สามารถเป็นซ้ำได้หลายครั้งตลอดชีวิต แต่อาการจะน้อยลง ดังนั้นผู้ใหญ่จะอาการน้อยกว่าในเด็ก และเด็กโตจะอาการน้อยกว่าเด็กเล็กตามอายุ
ร่างกายแข็งแรงเกราะป้องกัน RSV
ไวรัส RSV ทำให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสในช่วงที่แพร่ระบาดได้มากโดยเฉพาะสถานที่ที่ เด็กอยู่กันมากๆ เช่น โรงเรียนหรือสถานรับลี้ยงเด็ก ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้ลูกไม่ป่วยจากโรคนี้ คือ การมีร่างกายที่แข็งแรงและรู้จักวิธีหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ล้างมือบ่อย ๆ หลังจากทำกิจกรรม หรือก่อนกินอาหาร
- งดไปในสถานที่แออัด เช่น โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก
- ทำความสะอาดของเล่น
- ผู้ป่วยต้องปิดปากหรือใส่หน้ากากอนามัยเวลาไอจามเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือเมื่อต้องไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด
ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ส่วนบน จนถึงส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหลอดลมฟอยอักเสบ และอาจทำให้ปอดอัดเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กที่มีโรคประจำตัวคลอดก่อนกำหนด มีโรคปอดเรื้อรัง โรคทางระบบประสาท โรคที่ทำให้เด็กขับเสมหะได้ไม่ดี กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคหัวใจเรื้อรัง เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเพราะกลไกในการไอและขับเสมหะของร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อเด็กๆ ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้รับเชื้อ RSV จะมีแนวโน้มเป็นโรคหอบหืดได้ในอนาคตโดยเฉพาะกลุ่มที่มีพ่อแม่เป็นโรคหอบหืด หรือเด็กมีภาวะเกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด เช่น แพ้อาหาร แพ้นม มีผื่นภูมิแพ้ โดยจะมีความเสี่ยงเป็นโรคหอบหืดได้ตั้งแต่ 5-13 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสียง
ลูกเป็นหวัดหรือติดไวรัส RSV ? เด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV มักจะมีอาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัด คือมีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก แต่สิ่งที่พ่อแม่สามารถสังเกตเห็นว่าลูกติดเชื้อ RSV คือ
- ไอมาก เสมหะเยอะและเหนียวข้น
- อาการหายใจหอบเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม
- อาจมีเสียงหายใจดังวี้ด ๆ
- มีอาการซึม ไม่กินอาหารและน้ำ
- มักจะหงุดหงิด กระวนกระวาย
- มีสีเขียวคล้ำบริเวณริมฝีปาก หรือปลายมือปลายเท้าเนื่องจากร่างกายขาดอ๊อกซิเจน
หากลูกมีอาการไข้สูงในช่วงที่ไวรัส RSV ระบาด ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจได้รับเชื้อ จึงควรพาไปให้คุณหมอตรวจเช็คอย่างละเอียด
เวลาทำการทุกวัน 24 ชม. โทรศัพท์ 1715 หรือ 034-417-999
ศูนย์เด็กสุขภาพดี (รับวัคซีน) ต่อ 9211, 9212
ศูนย์กุมารเวช (เด็กป่วย) ต่อ 9221, 9222, 9223