เวชศาสตร์การกีฬา คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ส่งเสริม วินิจฉัย และรักษา ฟื้นฟู สภาพร่างกายของผู้ที่ออกกำลังกาย ทั้งผู้ที่ออกกำลังกายทั่วไป และ นักกีฬามืออาชีพ เพื่อให้มีศักยภาพร่างกายที่ดีที่สุด มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ออกกำลังกายสามารถออกำลังกายได้ดีกว่าเดิม และทำให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย กลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้เร็วที่สุด โดยใช้ความรู้ทางการแพทย์เฉพะทางด้านกระดูกและข้อ ด้านการกายภาพบำบัด ด้านโภชนาการ เป็นต้น

ทำไมต้องพบแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา

การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา อาจเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ ถ้าเรารักษาอาการบาดเจ็บให้ดีขึ้น และสามารถไปออกกำลังกายต่อได้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเราออกกำลังกายแล้วยังมีอาการเจ็บอยู่ หรือยังไม่สามารถออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬานั้นๆ ได้ให้รีบมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งแพทย์ด้านนี้มีความเข้าใจในการรักษาอาการบาดเจ็บของคนที่ชอบออกกำลังกาย และเล่นกีฬา เพื่อให้รักษาที่ถูกต้อง และรวดเร็ว โดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาจะช่วยทั้งด้านป้องกัน และการรักษา ดังนี้

1.ช่วยรักษาฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ

การที่เราบาดเจ็บและต้องหยุดออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬานานๆ ส่งผลเสียงอย่างมากต่อร่างกาย ทั้งการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และสุขภาพโดนรวม ดังนั้น การฟื้นฟูอาการบาดเจ็บให้เร็วขึ้น จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษาและฟื้นฟู ปัจจุบันมีเครื่องมือใหม่ ๆ และวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากมายเป็นทางเลือก โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด อาทิเช่น การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy) การบำบัดด้วยเครื่องคลื่นกระแทก (Shock wave Therapy) และ เครื่อง PMS (Peripheral Magnetic Stimulation) เครื่องมือบำบัดที่ใช้รักษาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ โดยการกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง การรักษาด้วยการใช้เกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP-Platelet Rich Plasma) เป็นต้น

2.ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ

ให้คำปรึกษาท่าบริหารกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนให้แข็งแรงขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายแต่ละชนิด การออกกำลังกายแบบเฉพาะเจาะจง จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแข็งแรงได้มากขึ้นอย่างถูกจุด เมื่อกล้ามเนื้อในจุดที่ต้องใช้งานมีความแข็งแรง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บลงได้ เช่น ผู้ที่ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่ มักมีอาการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาหลังบ่อยแพทย์เวชศาสตร์การกีฬาก็จะมีท่าทางการบริหารกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนนี้ให้แข็งแรงขึ้น และมีความยืดหยุ่นดีขึ้น ทำให้โอกาสบาดเจ็บมีน้อยลง

ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา

ผู้ที่ออกกำลังกาย แล้วเคยเกิดอาการบาดเจ็บบ่อยซ้ำๆ บริเวณเดิมเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์การกีฬาตรวจสภาพร่างกาย เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการบาดเจ็บ และรักษาให้สามารถกลับมาออกกำลังกาย และเล่นกีฬาได้อย่างเต็มสมรรถภาพ

ลักษณะการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

  1. การบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน การแบบเจ็บชนิดนี้นอกจากต้องให้การรักษาโดยแพทย์แล้ว การพักการใช้งานยังเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เวลาโครงสร้างในร่างกาย กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นสมานตัวเอง
  2. การบาดเจ็บแบบเรื้อรัง แพทย์จะให้การรักษาโดยเน้นพัฒนากล้ามเนื้อ พัฒนาโครงสร้างของร่างกายให้เหมาะสมกับการใช้งาน ในกลุ่มนี้อาจจะต้องใช้การฝึกซ้อมกล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานาน

โรคและภาวะผิดปกติ ที่เกี่ยวกับเวชศาสตร์การกีฬาที่พบได้บ่อย

  1. การบาดเจ็บที่ข้อไหล่
    • ภาวะข้อไหล่หลุด
    • ภาวะข้อไหล่หลุด และหลุดซ้ำๆ
    • ภาวะเอ็นไหล่เสื่อม
    • ภาวะเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด
    • ข้อไหล่ติดแข็ง
    • ข้อไหล่เคลื่อนจากการเล่นกีฬา
    • กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่
  2. การบาดเจ็บที่ข้อศอกและแขน
    • ข้อศอกหลุด
    • ปวดข้อศอก เอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ
    • เจ็บข้อศอกด้านใน หรือโรคข้อศอกนักกอล์ฟ
    • เส้นประสาทแขนบาดเจ็บ
  3. การบาดเจ็บที่ข้อเท้า
    • ข้อเท้าแพลง
    • กระดูกเท้าและข้อเท้าแตกหรือหัก
    • ผิวกระดูกอ่อนข้อเท้าบาดเจ็บ
    • เอ็นร้อยหวายอักเสบ
    • เอ็นร้อยหวายฉีกขาด
  4. การบาดเจ็บที่เข่า
    • เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด
    • เอ็นไขว้หลังฉีกขาด
    • เอ็นเข่าด้านในบาดเจ็บ
    • หมอนรองเข่าฉีกขาด
  5. การบาดเจ็บที่ข้อสะโพก
    • วงแหวนกระดูกอ่อนที่ข้อสะโพกฉีกขาด
    • ข้อต่อสะโพกขัด มีการเสียดสีบริเวณข้อสะโพก
    • ภาวะบาดเจ็บข้อสะโพกจากการเล่นกีฬา
    • มีเสียงดังจากข้อสะโพก
    • กล้ามเนื้อกาง หรือหุบสะโพกฉีกขาด
    • กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
    • กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังบาดเจ็บ

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเอกชัย มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และอุบัติเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน โดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา มีความเชี่ยวชาญการผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บของกระดูก เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และข้อต่อ ตลอดจนการรักษาด้วยยาและเครื่องมือต่างๆ รวมไปถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายภายหลังการผ่าตัด ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาออกกำลังกาย และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

โทร.034-417-999 ต่อ 132, 133 สายด่วน 1715

 

นายแพทย์ธาวิต เจริญโสภา

ความชำนาญพิเศษ : ศัลยศาสตร์และกระดูกและข้อ

เฉพาะทาง : เวชศาสตร์การกีฬา

เวลาออกตรวจ : วันอาทิตย์ 08.00 – 20.00 น. วันอังคาร เวลา 09.00 – 17.00 น. วันพฤหัสฯ เวลา 09.00 – 17.00 น. วันศุกร์ เวลา 07.00 – 17.00 น.

หมายเหตุ : วันเวลาออกตรวจอาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถโทรสอบถามที่ศูนย์ศัลยกรรม ได้ที่เบอร์ 034-417999 ต่อ 132, 133