น้ำหนักเพิ่มขึ้นที่เหมาะสม ที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อคุณแม่และลูกน้อยที่สุด คือ ช่วงน้ำหนักระหว่าง 12 – 15 กิโลกรัม ซึ่งสัดส่วนของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงอายุครรภ์จะแตกต่างกันดังนี้
- ไตรมาสที่ 1 (1-3 เดือน) เพิ่มขึ้นประมาณ 1 – 1.5 กิโลกรัม
- ไตรมาสที่ 2 (4-6 เดือน) เพิ่มขึ้นประมาณ 4 – 5 กิโลกรัม
- ไตรมาสที่ 3 (7-9 เดือน) เพิ่มขึ้นประมาณ 5 – 6 กิโลกรัม
น้ำหนักที่เพิ่มอยู่ที่ไหน
สัดส่วนของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 12-15 กิโลกรัม จะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ดังนี้
- เจ้าตัวเล็ก ประมาณ 3,000 กรัม
- น้ำคร่ำ ประมาณ 500 กรัม
- เต้านม ประมาณ 400 กรัม
- เลือดและน้ำในร่างกายคุณแม่ ประมาณ 1,200 กรัม
- รก ประมาณ 500 กรัม
- มดลูก ประมาณ 900 กรัม
- ไขมันและโปรตีน ประมาณ 5,000 กรัม
หมายเหตุ
- หากน้ำหนักน้อยขณะตั้งครรภ์ ควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ประเภทเนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ และข้าวเพิ่มมากกว่าก่อนตั้งครรภ์
- หากอ้วนขณะตั้งครรภ์ (น้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม) ควรควบคุมน้ไหนัก งดอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล เน้นโปรตีน เน้นผัก หากอ้วนเกินไปจะส่งผลกระทบต่อการคลอดได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์สูติ-นรีเวช และผู้มีบุตรยาก
โทร. (034) 417-999 ต่อ 221, 222 สายด่วน 1715